HAMSIAM.COM # NO.1 HAM COMMUNITY OF THAILAND

HAMSIAM TECHNOLOGY => พูดคุยทั่วไป => ข้อความที่เริ่มโดย: aongying ที่ 14 ธันวาคม 2012, 19:07:51



หัวข้อ: กฎหมายเรื่องการตั้งเสาสูง ๆ
เริ่มหัวข้อโดย: aongying ที่ 14 ธันวาคม 2012, 19:07:51
เรียนถามผู้ที่รู้ทุก ๆท่านครับ
คือผมอยากจะตั้งเสาสูง ๆ สำหรับส่ง Wireless  ความถี่ 5.1 GHz  โดยมีข้อมูลเบื้องต้นดังนี้
  -  หน่วยงานราชการ (โรงพยาบาลมหาสารคาม)
  -  สถานที่ตั้ง  อยู่ใจกลางเมือง มหาสารคาม
  -  พื้นที่ติดตั้ง  บนดาดฟ้าตึกสูง ประมาณ 30 เมตร
  -  ทิศการกระจายคลื่น  รอบทิศทาง
  -  สิ่งรบกวนรอบ ๆ บริเวณ  เสา + สายอากาศ วิทยุสื่อสาร หลักของ รพ. และ ตำรวจ
สิ่งที่อยากถาม
  -  กฎหมาย หรือ พรบ.ใดที่ควบคุมการตั้งเสาสูง ๆ
  -  สามารถตั้งเสาได้หรือไม่
  -  สามารถตั้งได้อีกกี่เมตร  จากพื้นดินถึงดาดฟ้า ประมาณ 30 เมตร
  -  ต้องขออนุญาตหรือไม่  จากหน่วยงานใด
ขอบพระคุณท่านผู้รู้ทุก ๆท่านครับ ขอบคุณครับ




หัวข้อ: Re: กฎหมายเรื่องการตั้งเสาสูง ๆ
เริ่มหัวข้อโดย: เจมี่ ที่ 14 ธันวาคม 2012, 19:14:00
5.1 GHz กสทช.ยังไม่อนุญาตครับ



หัวข้อ: Re: กฎหมายเรื่องการตั้งเสาสูง ๆ
เริ่มหัวข้อโดย: เจมี่ ที่ 14 ธันวาคม 2012, 19:14:41
5.1 GHz กสทช.ยังไม่อนุญาตครับ



- 2.1GHz ระบบ 3G ประมูลแล้วยังไม่จบเลย


หัวข้อ: Re: กฎหมายเรื่องการตั้งเสาสูง ๆ
เริ่มหัวข้อโดย: aongying ที่ 14 ธันวาคม 2012, 20:57:12
ขอบคุณครับ  แล้ว ปัจจุบัน ตัว Wireless ที่ความ 5.1 GHz. กฎหมายให้ใช้แต่ภายใน เท่านั้นถูกต้องหรือป่าวครับ ไม่สามารถยิงระยะทางไกล ๆได้ใช่มั๊ยครับ และบางตัว เห็นมีทั้ง 2.4  และ 5.1 ครับ  ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: กฎหมายเรื่องการตั้งเสาสูง ๆ
เริ่มหัวข้อโดย: hs1amm ที่ 20 ธันวาคม 2012, 07:14:15
อยากเสียเงินตั้งไปเลย 1.2  2.4 ก่อนประกาศใช้เคยตั้งมาก่อน ตอนนี้ต้องรื้อลงของถูกต้องมาแรงจริงๆ


หัวข้อ: Re: กฎหมายเรื่องการตั้งเสาสูง ๆ
เริ่มหัวข้อโดย: hs2qfw1 ที่ 05 เมษายน 2017, 01:16:30
กลายเป็นกระทู้ที่มีเพื่อนสมาชิกสนใจและผมเองก็ติดตามอ่านมาวันสองวันแล้ว เห็นว่าข้อมูลได้ขยายวงเกี่ยวเนื่องกันหลายเรื่อง และน่าจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนสมาชิก ขอร่วมให้ข้อคิดเห็นด้วยคนดังนี้นะครับ

1. ประเด็นแรกก่อนนะครับ ประเด็นว่าต้องขออนุญาตตั้งทาวเวอร์ไหมนั้น ตามที่ จขกท. ถามแต่เดิม

ตอบตามกฏหมายเลยนะครับว่า หากทาวเวอร์ที่ท่านจะตั้งนั้นเข้าข่ายตาม พรบ. ควบคุมอาคาร ตลอดจนกฏกระทรวงและประกาศเพิ่มเติมที่เป็นกฏหมาย นั่นคือ "โครงสร้างที่ใช้ในการรับส่งวิทยุหรือโทรทัศน์ที่มีความสูงจากระดับฐานของโครงสร้างนั้นตั่งแต่ 10 เมตรขึ้นไป และมีน้ำหนักรวมกันตั้งแต่ 40 กิโลกรัมขึ้นไป" (ตามความใน ข้อ 1 (4) ของกฏกระทรวง เรื่อง กำหนดสิ่งที่สร้างขึ้นเป็นอาคารตามกฏหมาย พ.ศ. 2544) ถือเป็นอาคารครับ มิใช่อุปกรณ์ประกอบอาคาร ทั้งด้วยวัตถุประสงค์ที่ใช้เพื่อกิจการเฉพาะแน่ๆ คือรับส่งวิทยุ การจะไปตีว่าเป็นเพียงอุปกรณ์ประกอบอาคารเท่านั้นดูจะไม่ถูกต้อง (อุปกรณ์ประกอบอาคาร อาทิ ฉาก หรือส่วนยื่น หรือองค์ประกอบตกแต่งครับ มิใช่เสา ว.)

ดังนั้นถ้าเสาท่านสูงเกิน 10 เมตร หรือหนักเกิน 40 กก. เมื่อกฏหมายให้ถือเป็นอาคารก็ต้องขออนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นทุกกรณีครับ ส่วนที่ว่างั้นเสาทีวีตามบ้านหรือตึกแถวก็ต้องขอด้วยซิ  ::) อันนั้นไม่ต้องขอเพราะส่วนใหญ่ไม่เกิน 10 เมตร และหนักไม่เกิน 40 กก. ครับ  แต่ถ้าเกินก็ต้องขอครับ

ข้อยกเว้น
- หากเป็นเสาของกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการท้องถิ่นได้รับยกเว้นครับ (ฮ่วย.. ราชการสร้างสูงเท่าไหร่ก็ได้ไม่ต้องขออนุญาตครับ???) (ตามความใน ข้อ 2 ของกฏกระทรวง เรื่อง กำหนดสิ่งที่สร้างขึ้นเป็นอาคารตามกฏหมาย พ.ศ. 2544)
- ตาม พรบ. ควบคุมอาคารยังเปิดช่วงว่าทั้งนี้แล้วแต่ดุลพินิจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นผู้ชี้ขาด หมายความว่า แม้เข้าข่ายข้างต้นเจ้าพนักงานอาจมองว่าไม่ต้องขออนุญาตก็ได้ แต่เสาแบบเดียวกันสูงเท่ากันในอีกท้องที่หนึ่งเจ้าพนักงานอาจบอกว่าต้องขออนุญาตครับ (คำวินิจฉัยนี้เป็นเฉพาะท้องที่ครับ ไม่สามารถใช้อ้างในท้องที่อื่นนอกเหนืออำนาจเจ้าพนักงานนั้นๆได้) ดังนั้นหากไม่แน่ใจก็ทำหนังสือถามไปที่เขตที่ท่านอยู่คำตอบที่ได้จึงจะยุติครับ (ที่เจอมาบางครั้งคำตอบอาจไม่เหมือนกัน ก็ต้องยึดตามที่ท้องถิ่นตอบครับ)

มาจากกฎกระทรวง ข้อใด หรือ พรบ.ใด
- พรบ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 (http://www.dpt.go.th/law/data/building/1.pdf)
- ฏกระทรวง เรื่อง กำหนดสิ่งที่สร้างขึ้นเป็นอาคารตามกฏหมาย พ.ศ. 2544 (http://www.dpt.go.th/law/law_building/ministerial/118_65_160944_22.pdf)
- ทั้งนี้ยังมีประกาศเสริมอื่นของ กทช. และ กรมไปรษณีย์โทรเลขที่เกี่ยวเนื้องด้วยครับ ซึ่งล้วนอิงมาที่ พรบ. ควบคุมอาคารทั้งสิ้น และให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นผู้ควบคุมและดูแล


2. ประเด็นต่อมา ต่อจากขอหรือไม่ขออนุญาตแล้วนะครับ (คือได้รับอนุญาตให้ตั้งทาวเวอร์ได้) ยังเกี่ยวเนื่องกับวิศวกรอีก 2 ส่วน (เอาตามตัวบท กม. นะครับ) คือ ส่วนโครงสร้างที่ต้องมีรายการคำนวณและรับรองแบบโดย วิศวกรโยธา และส่วนงานระบบที่ต้องมีวิศวกรไฟฟ้า-สื่อสาร ตามความและข้อกำหนดใน พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 และกฎกระทรวงกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2550

ผมขอยกข้อความที่เคยตอบไว้ที่กระทู้ http://www.100watts.com/smf/index.php?topic=35658.msg202567#msg202567 ดังนี้นะครับ

"เรามักจะละเลย และปล่อยกันจนกว่ามันจะเกิดปัญหาขึ้นก่อน แล้วค่อยมาตามแก้ เรื่อง tower นี่ จริงๆ ถ้าไม่ได้ไปซื้อหรือจัดหาจากร้านหรือบริษัทที่มีรายการคำนวณแบบโดยวิศวกร โยธาฯ ไว้แล้ว อันได้แก่ออกแบบใหม่ หรือออกแบบเอง ต้องมีรายการคำนวณใหม่ รับรองโดยวิศวกร และต้องขออนุญาตติดตั้งครับ

ส่วนพอจะเอาไปตั้ง ถ้าไม่นับงานฐานราก ในส่วนงานระบบสื่อสาร (Tower ถือเป็นส่วนหนึ่ง) ต้องมีวิศวกรไฟฟ้า (สื่อสาร) ควบคุมและรับรองด้วยครับ อาจใช้ภาคีก็ได้เพราะกำลังส่งไม่สูง

ดังความตาม พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒ และกฎกระทรวงกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๐

คัดมาเฉพาะที่เกี่ยวข้อง

ข้อ ๙ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
แขนงไฟฟ้าสื่อสาร ระดับสามัญวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
งานไฟฟ้าสื่อสาร ได้เฉพาะงาน ประเภท และขนาดดังนี้

(๑) งานวางโครงการระบบเครือข่ายที่มีสถานีรับ ส่ง และถ่ายทอดเพื่อกระจายคลื่น
แม่เหล็กไฟฟ้าที่มีกำลังส่งแต่ละสถานีไม่เกิน ๕ กิโลวัตต์

(๒) งานออกแบบและคำนวณ และงานควบคุมการสร้างหรือการผลิต
(ก) ระบบกระจายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีกำลังส่งแต่ละสถานีไม่เกิน ๕ กิโลวัตต์
(ข) ระบบรับ ส่ง แยก หรือรวมสัญญาณส่งโดยใช้ความถี่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ทุกขนาด

(๓) งานพิจารณาตรวจสอบทุกประเภทและทุกขนาด

(๔) งานอำนวยการใช้ระบบกระจายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีกำลังส่งแต่ละสถานีไม่เกิน
๕ กิโลวัตต์

ข้อ ๑๐ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
แขนงไฟฟ้าสื่อสาร ระดับภาคีวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
งานไฟฟ้าสื่อสาร ได้เฉพาะงาน ประเภท และขนาดดังนี้

(๑) งานออกแบบและคำนวณ และงานควบคุมการสร้างหรือการผลิต ระบบรับ ส่ง แยก
หรือรวมสัญญาณส่งโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีช่องการสื่อสารไม่เกิน ๒๔๐ วงจรเสียงหรือเทียบเท่า

(๒) งานพิจารณาตรวจสอบทุกประเภทและทุกขนาด

(๓) งานอำนวยการใช้ระบบกระจายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีกำลังส่งแต่ละสถานีไม่เกิน
๒ กิโลวัตต์"

มาจากกฎกระทรวง ข้อใด หรือ พรบ.ใด

- พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 (http://www.dpt.go.th/law/data/engineer.pdf)
- กฎกระทรวงกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2550 (http://www.coe.or.th/_coe/_product/20080215172108-1.PDF)

*** อนึ่งแม้ไม่ได้กำหนดโทษเจ้าของทาวเวอร์ที่ไม่ได้หาวิศวกรมารับรองไว้ (คือไม่มีไม่ผิด ถ้า จนท.ไม่มาตรวจหรือมีปัญหา)  แต่หากเกิดเหตุเจ้าของจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายทั้งหมดครับ รวมถึงโดนอาญาไล่มาตั้งแต่ข้อ 1 ที่ไม่ขออนุญาต และข้อ 2 ที่ไม่จัดหาวิศวกรมารับรอง โดยจะอ้างว่าไม่ทราบไม่ได้ครับ

3.ประเด็นว่า "เมื่อเราขออนุญาตก่อสร้างอาคารเป็น แบบประเภทที่พักอาศัย (ส่วนใหญ่ไม่เกิน 4 ชั้น) และสร้างเสร็จสมบูรณ์และเข้าไปอาศัย.
...ต่อมาได้มีการติดตั้งเสาวิทยุ (รวมทั้งเสาเครือข่ายโทรศัพท์บางค่ายที่เช่าพื้นที่บนดาดฟ้า) ไม่ถือว่าเป็นการดัดแปลงอาคาร  และไม่ต้องขออนุญาตเพราะ เป็นเพียงอุปกรณ์ประกอบอาคารเท่านั้น เช่นเดียวกับเสาทีวี ทั่วไปเมื่อติดตั้งเสาทีวีแล้วไม่ถือว่าความสูงของบ้านเพิ่มขึ้น  จึงไม่ต้องขออนุญาตดัดแปลงอาคาร แต่หากมีข้อกฎหมายใดออกมาใหม่ๆมายืนยัน ว่าต้องขออนุญาต ขอทราบข้อมูลด้วยได้ไหมครับ ว่ามาจากกฎกระทรวง ข้อใด หรือ พรบ.ใด"

ตัดมาตอบดังนี้นะครับ

"เมื่อเราขออนุญาตก่อสร้างอาคารเป็น แบบประเภทที่พักอาศัย (ส่วนใหญ่ไม่เกิน 4 ชั้น) และสร้างเสร็จสมบูรณ์และเข้าไปอาศัย....ต่อมาได้มีการติดตั้งเสาวิทยุ (รวมทั้งเสาเครือข่ายโทรศัพท์บางค่ายที่เช่าพื้นที่บนดาดฟ้า) ไม่ถือว่าเป็นการดัดแปลงอาคาร  และไม่ต้องขออนุญาตเพราะ เป็นเพียงอุปกรณ์ประกอบอาคารเท่านั้น"

ตอบคือหากเข้าข่ายข้อ 1 คือเสานั้นสูงเกิน 10 เมตร หรือหนักเกิน 40 กก. ขึ้นไป ถือว่าเป็นอาคารครับ (ตาม กม. ที่อ้างในข้อ 1) มิใช่เพียงส่วนประกอบ เว้นแต่เป็นเสาทีวีก้างปลาจิ๋วๆ หรือแป็บที่ไม่ได้สูงหรือหนักเกินที่กล่าวมา  ยิ่งเป็นทาวเวอร์บนดาดฟ้าแบบที่เป็น Cellsite ยิ่งต้องขอครับ เพราะการเพิ่มโหลดบนดาดฟ้าอาคาร ย่อมส่งผลต่อโครงสร้าง (ที่ไม่ขอกันเพราะ ไม่มี จนท.ไปตรวจไงครับ ทำตามๆกันมา แต่หากลงก็ต้องรับไปเต็มๆตามข้อ 3 เช่นกัน)

"เช่นเดียวกับเสาทีวี ทั่วไปเมื่อติดตั้งเสาทีวีแล้วไม่ถือว่าความสูงของบ้านเพิ่มขึ้น  จึงไม่ต้องขออนุญาตดัดแปลงอาคาร"

หากเสาท่านไม่สูงเกินกฏกระทรวง ไม่ต้องขอครับ แต่เกินต้องขอครับ

อนึ่งอย่าลืมเรื่องดุลพินิจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นนะครับ จะได้ไม่ต้องเถียงกัน สงสัยก็ทำหนังสือถามท้องถิ่นให้ตอบเป็นรายลักษณ์อักษรครับ จึงจะยุติ (ท้องถิ่นใครท้องถิ่นมันนะครับ คำตอบใช้อ้างข้ามเขตไม่ได้ครับ)

มาทำให้ถูกกันนะครับ   ;D
เรียนถามผู้ที่รู้ทุก ๆท่านครับ
คือผมอยากจะตั้งเสาสูง ๆ สำหรับส่ง Wireless  ความถี่ 5.1 GHz  โดยมีข้อมูลเบื้องต้นดังนี้
  -  หน่วยงานราชการ (โรงพยาบาลมหาสารคาม)
  -  สถานที่ตั้ง  อยู่ใจกลางเมือง มหาสารคาม
  -  พื้นที่ติดตั้ง  บนดาดฟ้าตึกสูง ประมาณ 30 เมตร
  -  ทิศการกระจายคลื่น  รอบทิศทาง
  -  สิ่งรบกวนรอบ ๆ บริเวณ  เสา + สายอากาศ วิทยุสื่อสาร หลักของ รพ. และ ตำรวจ
สิ่งที่อยากถาม
  -  กฎหมาย หรือ พรบ.ใดที่ควบคุมการตั้งเสาสูง ๆ
  -  สามารถตั้งเสาได้หรือไม่
  -  สามารถตั้งได้อีกกี่เมตร  จากพื้นดินถึงดาดฟ้า ประมาณ 30 เมตร
  -  ต้องขออนุญาตหรือไม่  จากหน่วยงานใด
ขอบพระคุณท่านผู้รู้ทุก ๆท่านครับ ขอบคุณครับ



ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ�
ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ�


Webmaster Earn Money! By Affiliate Program 100% Pay
www.samuismile.com