HAMSIAM.COM # NO.1 HAM COMMUNITY OF THAILAND
19 เมษายน 2024, 12:37:55 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ท่านที่มีกระทู้เยอะ เวลาอัพยกแผงทำให้กระทู้ท่านอื่นตกเร็วมากต่อไปให้อัพ ไม่เกินชั่วโมงละ 2ครั้ง/2กระทู้ นะครับ ชม.ถัดไปถึงอัพใด้อีก 2ครั้ง/2กระทู้
หากต้องการอัพแบบไม่จำกัด คลิ้กที่นี่
Google
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  


หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ช่วยกันแสดงความเห็นพร้อมข้อมูลประกอบต่อร่างฯฉบับใหม่  (อ่าน 2123 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
supichan
Jr. Member
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 87


« เมื่อ: 11 กันยายน 2013, 15:28:58 »

กรณี ความถี่ UHF 435

จากระเบียบ ว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น ที่เราเคยใช้กันมา จะระบุ กรณี ความถี่ 435 MHz ไว้ว่า



ความถี่วิทยุ 435.0000 - 438.0000 MHz กำหนดให้ใช้ในกิจการวิทยุสมัครเล่นผ่านดาวเทียม สำหรับการติดต่อสื่อสารประเภทเสียงและประเภทอื่น ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้เฉพาะด้านรับ(Downlink) จากดาวเทียมมายังสถานีวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น ทั้งนี้ กำหนดให้เป็นกิจการรอง (Secondary Service)

ส่วนฉบับ ร่าง เขียนว่า
๔.๑.๓กำหนดให้ใช้คลื่นความถี่ ๔๓๕ - ๔๓๘ MHz
สำหรับการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมวิทยุสมัครเล่น (Satellite) เฉพาะด้านรับ (Downlink) จากดาวเทียมมายังสถานีวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น

ฉบับร่าง ไม่มีคำว่า "ทั้งนี้ กำหนดให้เป็นกิจการรอง (Secondary Service)"
จริงๆแล้ว แม้จะเป็น Secondary Service เราก็สามารถใช้งานได้เหมือนกันแต่ ต้องดูตามสิทธิ์คุ้มครองและการรบกวน

จึงสงสัยว่า หากนำไปเทียบเคียงกับ ช่วงความถี่ 1.8MHz และ 3.5MHz ซึ่ง กำหนดให้ใช้ความถี่ 1.8000 - 1.825 MHz และ 3.500-3.540 MHz (ไม่เต็มแบนด์ตาม ITU R3 1.80-1.82 MHz และ 3.50-3.90 MHz )

เมื่อไปดู เรื่อง มาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์  กทช. มท. 1018-2550 (radio amateur)
http://www.nbtc.go.th/wps/portal/NTC/ReshDev/Standard



หน้า2  หมายเหตุ (ข้อ2)
หมายเหตุ
 (1)  คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติอาจพิจารณาอนุญาตให้ใช้งานเครื่องวิทยุคมนาคมที่มีกําลังคลื่นพาห์ที่กําหนด(rated carrier power) เกินขีดจํากัดที่ระบุไว้ในตาราง โดยจะพิจารณาเป็นกรณีไป
(2)  ย่านความถี่วิทยุที่อนุญาตให้ใช้งานให้เป็นไปตามกฎระเบียบว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่นคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ทั้งนี้ สํานักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จะพิจารณาอนุญาตให้นําเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมเพื่อการทดสอบรับรองตัวอย่าง เฉพาะเครื่องที่มีย่านความถี่วิทยุ ที่สามารถใช้งานได้(operating frequency bands) อยู่ในช่วงไม่เกินตามที่ระบุไว้ในภาคผนวกเท่านั้น

จึงตามไปอ่านภาคผนวก หน้า 7



ในตาราง ประกอบด้วย ช่วงความถี่รับ - ส่ง โดยที่ ช่องซ้ายมือ หมายถึง ช่วงความถี่ของเครื่อง ที่อนุญาตให้นำเข้ามาใช้ได้  ส่วนช่องด้านขวา คือ ความถี่จริงที่ใช้ได้ตามที่ระบุ
จะเห็นได้ว่า การอนุญาตทางเทคนิคของเครื่อง ตัวเครื่องอาจจะมีความถี่จริง เกินกว่าที่ระบุให้อนุญาตใช้ก็ได้ แต่เมื่อนำมาใช้จริง ต้องใช้ตามที่ระเบียบกำหนดเท่านั้น ช่วงความถี่ที่สังเกตุได้ง่ายและชัดเจนคือ ช่วงความถี่ ในย่าน HF 1 - 30 MHz นั้น คุณสมบัติของเครื่อง มีความถี่กว้างกว่า ความถี่ที่อนุญาตใช้ แทบทั้งสิ้น

ดังนั้น ช่วง ความถี่ ในร่างระเบียบ ใหม่ ให้ขั้นต้น ใช้ความถี่ 28.0-29.7 MHz นั้น  สามารถนำเข้าเครื่องที่มีมาตรฐานความถี่ ตั้งแต่ 27.0 -30 MHz เข้ามาได้...

ส่วน ความถี่ 430-450 MHz  ปรากฏอยู่ในท้าย ตาราง ของ ภาคเครื่องรับเท่านั้น !!!!  แปลว่า เราต้องนำเข้าเครื่อง ที่หากมีความถี่ 430 เข้ามา จะต้องรับได้อย่างเดียว ซึ่ง ก็คงมีเฉพาะ เครื่องประเภท รับอย่างเดียว (Reciever) เท่านั้น

ตรงนี้เอง เราจะมีวิธีการใด ที่จะแก้ระเบียบ และ มาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์  เพิ่ม ความถี่ 430-450 MHz ลงไปในตาราง ภาคเครื่องส่งได้ แต่อาจจะ *วงเล็บไว้ว่า ห้ามทำการส่ง ใช้รับอย่างเดียว    เพื่อที่จะได้ สามารถนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคม ที่มีความถี่ 430MHz (รุ่นใหม่หรือรุ่นที่ขายทั่วไปในท้องตลาด) เข้ามาใช้ได้อย่างถูกต้อง

อีกเรื่องนึง..
ประกาศ กทช. เรื่องการนำเข้า มีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น พ.ศ. ๒๕๔๘  http://www.nbtc.go.th/wps/portal/NTC/!ut/p/c5/hY1NC4JAFEV_UbyHzSgutUnnxTQ1JOa4kSFEBD9aRNC_T2k9du_y3MuBGpZO7t137tXPkxuggjps2CUS_Jpz2mMRI6nyLOXNkDZs4TZsDnkiWaQQURPHQJRC0zFGTIM_7_vq8y7SItjkJ-I_vuVfOXqSIGg5jy1YqCOPxZBiYIe2c48PPMcKe9plXxqy99M!/dl3/d3/L2dJQSEvUUt3QS9ZQnZ3LzZfNE83RDVQRzVJMzBUOTBJTFZNSEhTUVEyRjU!/?WCM_GLOBAL_CONTEXT=/wps/wcm/connect/library+ntc/internetsite/20law/20-05lawonradiotelecom/20-0503radiocommunication/200503radiocommunication_detail/7fea19804a97c2929d78ddb1f5b6d48d

หน้า 633 -634
ว่าด้วยเรื่อง DTMF  เราจะแก้ระเบียบ ตรงนี้ได้หรือยัง..



ช่วยกันคิดช่วยกันเสนอ ประกอบข้อมูลครับ เผื่อว่า สมาคมฯ ต่างๆ ที่เขาพูดบ่อยๆว่า เขาเป็นตัวแทนของเรา จะได้เอาข้อมูลไปทำหน้าที่นำเสนอ  และอาจจะเปลี่ยนแปลงไปในแนวทางที่ดีขึ้นอีก

บันทึกการเข้า
HAMSIAM.COM # NO.1 HAM COMMUNITY OF THAILAND
« เมื่อ: 11 กันยายน 2013, 15:28:58 »

พื้นที่โฆษณา ขาย เครื่องชาร์จแบตเตอรี่อัตโนมัติ CTEK จาก สวีเดน ดีที่สุด/ถูกที่สุด+ประกัน5ปี
คลิ้กไปดูที่ลิ้งค์ข้างล่างเลยครับ
http://www.spy-thai.com/


GPS ติดตามรถหาย ดักฟังเสียงสนทนาในรถ หรือระบุตำแหน่งรถ สั่งดับเครื่อง
ติดตามรถได้ทั่วไทยโดยไม่มีค่าบริการรายเดือน / Tel. 086-9455977
 บันทึกการเข้า
masteryoh
Sr. Member
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 311


« ตอบ #1 เมื่อ: 11 กันยายน 2013, 19:26:34 »

ขอบคุณท่านเจ้าของกระทู้มาก ได้ความรู้หลายอย่างเลย เอาเป็นว่าอยากให้เป็นสากลนิดนึง และมุ่งประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารของนักวิทยุสมัครเล่น คงจะไม่มีเหตุผมอื่นใดนอกจากการออกกฎระเบียบอะไรต่าง ๆ มุ่งประโยชน์แก่นักวิทยุสมัคร ด้วยความจริงใจ มากกว่าเพียงการจำกัดสิทธิเท่านั้น (อย่าลืม ออกมาแล้วจะอยู่อีกนานครับ ให้คนเขาสรรเสริญเยินยอ หรือออกมาให้เขาตัดพ้อ เลือกเอา)
บันทึกการเข้า
HAMSIAM.COM # NO.1 HAM COMMUNITY OF THAILAND
« ตอบ #1 เมื่อ: 11 กันยายน 2013, 19:26:34 »

 บันทึกการเข้า
supichan
Jr. Member
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 87


« ตอบ #2 เมื่อ: 12 กันยายน 2013, 16:54:32 »

กรณี Echolink และ Voice Internet Gate way
ข้อความ ต่อไปนี้ คัดลอกมาจาก http://ham-cusiam.com/index.php?topic=1886.msg2260#msg2260

------------------------------------------------------------------------------------------------
หากจะบอกว่า ถูกลดช่อง  คำพูดนี้ก็คงจะไม่ถูกเสียทีเดียวน่ะครับ

ย้อนไปเมื่อปี พ.ศ.2545 ได้มีกลุ่มนักวิทยุสมัครเล่นภายในประเทศไทย เริ่มทดลองโปรแกรม Echolink และทดลองเชื่อมต่อกับวิทยุสื่อสาร
อ่านต่อที่ http://www.hs9dmc.com/echolink/what_is_echolink/echolink1.htm

และใจความสำคัญ เกี่ยวกับหนังสือ ที่ขอทำการทดลองใช้โปรแกรม Echolink
อ่านที่ต่อที่ http://www.hs9dmc.com/echolink/what_is_echolink/echolink2.htm

ซึ่งใจความสำคัญในตอนนั้น ปี 2547  สามารถที่จะทำการทดลองดังกล่าว โดยไม่ต้องยื่นคำขออนุญาตต่อกรมไปรษณีย์โทรเลข แต่อย่างใด
โดย.. ให้ทดลอง ในช่วงความถี่การสื่อสารประเภทอื่น  ในช่องความถี่วิทยุ 145.5000 - 145.6125 MHz และ 145.7250 - 145.8000 MHz
ทั้งนี้ หากการใช้ความถี่วิทยุดังกล่าว ก่อให้เกิดการรบกวนกับข่ายสื่อสารในกิจการวิทยุสมัครเล่นหรือข่ายสื่อสารอื่น ที่ได้รับอนุญาตอยู่ก่อนแล้ว จะต้องแก้ไขหรือระงับการใช้ความถี่วิทยุนั้นทันที


สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ
1.การทดลอง
2.การสื่อสารประเภทอื่น
3.ข่ายสื่อสารในกิจการวิทยุสมัครเล่นหรือข่ายสื่อสารอื่น ที่ได้รับอนุญาตอยู่ก่อนแล้ว

1. การทดลอง คือยังไม่ประกาศหรือบรรจุ ข้อบัญญัติ หรือคำจำกัดความของโหมดสื่อสาร ประเภทโปรแกรม Echolink ว่าตกลงอยู่ในหมวดไหนกันแน่ ซึ่งในต่างประเทศนั้น เขาได้แยก Echolink หรือโปรแกรมสื่อสารทางเสียงผ่านอินเตอร์เน็ต ออกไปอยู่ในหมวด Voice Internet Gateway ซึ่งเป็นช่องสื่อสารเฉพาะ แยกออกต่างหากกับโหมดอื่นๆ และโดยส่วนใหญ่ คำว่าการทดลอง คือทำเป็นการชั่วคราว (รอ ออกระเบียบที่ชัดเจน)

2.การสื่อสารประเภทอื่น ในช่องความถี่วิทยุ 145.5000 - 145.6125 MHz และ 145.7250 - 145.8000 MHz
จากข้อ 3.1.2 จากภาพ ที่คัดมาจาก ระเบียบคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งเป็นระเบียบกฏหมายปัจจุบันล่าสุดที่เรากำลังใช้อยู่ นี้

 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/E/152/10.PDF 





3.1.2 การติดต่อสื่อสารประเภทอื่น ให้ใช้รับส่งข่าวสารนอกเหนือจากเสียงพูด เช่น สัญญาณแบบคลื่นต่อเนื่อง (Continuous Wave : CW) สัญญาณแบบคลื่นต่อเนื่องที่มีการมอดูเลต (Modulated Continuous Wave:MCW) สัญญาณภาพ(Image) สัญญาณวิทยุโทรพิมพ์ (Radio Tele-typewrite :RTTY) สัญญาณข้อมูล (Data or Packet Radio) และสัญญาณพัลลส์(Pulse) เป็นต้น ทั้งนี้ไม่อนุญาตให้ใช้รับส่งสัญญาณแถบคลื่นกว้างแบบสเปกตรัมแผ่(Spread Spectrum)

ดังนั้นโดยความจริงแล้ว Echolink ไม่ได้มีความหมายอยู่ใน หัวข้อ การติดต่อสื่อสารประเภทอื่น แต่อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ทราบได้ว่า ในขณะนั้น ผู้ออกหนังสืออนุญาตอาจจะคิดไม่ถึงในจุดสำคัญจุดนี้ ที่ไม่กำหนดช่องความถี่ ออกมาให้ชัดเจน หรืออาจจะรอออกในระเบียบว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น ไปเลยทีเดียว

3.ข่ายสื่อสารในกิจการวิทยุสมัครเล่นหรือข่ายสื่อสารอื่น ที่ได้รับอนุญาตอยู่ก่อนแล้ว
ที่ได้รับอนุญาตอยู่ก่อนแล้ว จึงน่าจะหมายถึง... สถานีวิทยุที่ทำการสื่อสารโดยใช้ ช่องความถี่ 145.5000 - 145.6125 MHz และ 145.7250 - 145.8000 MHz ตามคำจำกัดความจริงๆ ที่บรรจุอยู่ใน ระเบียบปี 2550 ซึ่งนั่นก็คือ Data , Packet Radio , RTTY ,PSK ,Image ,etc.  หมายความจริงๆว่า ถ้า Echolink (ซึ่งจริงๆไม่ได้อยู่ในโหมดนี้) ไปทำการรบกวนสถานีที่ใช้โหมดสื่อสารอื่นข้างต้น ซึ่งเขาได้รับการอนุญาตให้ใช้โดยสิทธิ์อยู่ก่อนแล้ว  Echolink จะต้องหยุดการใช้ความถี่วิทยุทันที

ปีพ.ศ. 2554
และจากการพูดคุยตกลงกันในระหว่างหมู่นักวิทยุสมัครเล่นด้วยกันเอง ซึ่งก็เปิดกว้างและหาข้อตกลงที่จะใช้ความถี่ร่วมกันโดยไม่ให้เกิดการรบกวน จึงได้ เห็นควรใช้ข้อตกลง คือ 145.50-145.5375 เป็น Digital Mode และ 145.550-145.6125 , 145.725-145.8 ให้ Echolink ได้ใช้งาน
http://www.100watts.com/smf/index.php?topic=73382.msg386332#msg386332

ดังนั้น จริงๆแล้ว Echolink ยังไม่เคยถูกบัญญัติ หรือให้คำจำกัดความว่าอยู่ในโหมดการสื่อสารประเภทใดเลย ในระเบียบวิทยุสมัครเล่นประเทศไทย  แต่กำลังถูกบัญญติให้อยู่ในกลุ่ม
“สถานีวิทยุสมัครเล่นที่เชื่อมโยงผ่านเครือข่ายสาธารณะ”
หมายความว่า
สถานีวิทยุสมัครเล่นที่ติดตั้งเครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการวิทยุสมัครเล่นเชื่อมต่อเข้ากับโครงข่ายสื่อสารสาธารณะ อาทิ อินเตอร์เน็ท วงจรเช่าใช้ เป็นต้น

โดยจะถูก กำหนดช่องที่ ๘๔ และ ๘๕ สำหรับ Internet voice gateway (ซึ่งคงได้ทราบกันดีแล้ว)

ดังนั้นจึงอาจพูดได้ว่า นี่อาจเป็นครั้งแรกที่เราได้ กำหนดและบัญญติ อย่างชัดเจน ว่า จะมีช่อง  Internet voice gateway  ใช้งานแบบเฉพาะเจาะจงจริงๆตามระเบียบวิทยุสมัครเล่น  ซึ่งเป็นการทำเป็นครั้งแรก จะบอกว่า "ลด"  ก็คงจะไม่ถูกนัก  อาจจะต้องบอกว่าเพิ่มเสียด้วยซ้ำ  เพราะเมื่อก่อนยังไม่มีคำจำกัดความมารองรับ

ทั้งนี้ทั้งนั้น..  ก็เห็นใจเพื่อนนักวิทยุสมัครเล่นด้วยกัน ที่ต้องการใช้ความถี่หลายช่อง  ก็คงต้องขอให้ทำการบ้านกันเยอะๆ ศึกษาระเบียบเก่าและร่างใหม่ให้ละเอียด เพื่อร่วมกันทำข้อเสนอ (ที่มีเหตุผลแบบวิทยุสมัครเล่น) เสนอผู้กำกับดูแลเรา เช่นอาจจะ จัดทำแผนตารางความถี่ใหม่ ให้อยู่ ภายในไม่เกิน 146  หรืออย่างไรก็แล้วแต่  แต่ขอว่าควรศึกษา แผนความถี่ดีๆ โดยเฉพาะแผนความถี่ในประเทศใกล้เคียง  ไม่ใช่ว่าเราจะเอามากๆแล้วจะไปอยู่ตรงไหนก็ได้ มันก็จะเกิดการรบกวนกันระหว่างประเทศได้   และโดยเฉพาะ ข้อคิดเห็นที่ให้ย้าย CW SSB ไปอยู่ ความถี่ 146...   ยังไม่มีประเทศไหนในโลกทำกันครับ  ซึ่งก็อาจจะเป็นประเทศไทยประเทศแรก

ทั้งนี้ทั้งนั้น มองเห็นผู้ใหญ่ใจดี ได้ร่างข้อเสนอให้ปรับปรุงการใช้งานความถี่ช่วง 144-146.5MHz ใหม่  ไว้แล้วเผื่อยื่นให้ผู้กำกับดูแลพิจารณา
ดูที่ http://hs2jfw.blogspot.com/2013/09/144-1465mhz.html

คัดค้านได้ แต่อยากให้มีเหตุผล โดยเฉพาะเหตุผลทางวิทยุสมัครเล่น รองรับด้วยครับ  เราจะอ้าง AEC  ITU หรืออะไรก็แล้วแต่  เราเองต้องศึกษามันดีๆเสียก่อน แบบที่เสนอเหตุผลไปข้างๆคูๆ ไม่งั้นผู้กำกับดูแลเรา เขามีผู้เชี่ยวชาญเยอะ เขาจะหัวเราะเอาได้
ทำอะไรต้องมีเหตุผลทางวิทยุสมัครเล่นรองรับด้วยครับ เช่นไปหาแบนด์แพลนวิทยุสมัครเล่นประเทศข้างเคียงเรามาเปรียบเทียบ เช่น มาเลเซีย หรือญี่ปุ่น เป็นต้น
ก่อนจะคัดค้านหรือสนับสนุน เราเองอ่าน ระเบียบชัดเจนละเอียดดีหรือยังฮืม

ข้อห่วงใย
เราทำสถานีลิงค์ที่เป็นประโยชน์จริงๆ สูงที่สุดแล้วหรือยัง ในเมื่อเรายังแบ่งเป็นกลุ่มชมรมย่อย และ สถานีต่างๆต้องจำกัดอยู่ ห้องๆนั้นแบบตายตัว แล้วหากมีซัก 10 ชมรม แยกกันเปิดลิงค์ จังหวัดละ10 ลิงค์ ต้องใช้ความถี่เท่าไหร่จึงจะเพียงพอ  เราเคยศึกษาไหมว่าต่างประเทศ เขาใช้ Echolink Gate way กันอย่างไร?

ด้วยความปราถนาดี  และลองทำใจเย็นๆอ่านข้อมูลที่อาจจะเป็นคนละด้านกับที่ท่านทั้งหลายเข้าใจดูน่ะครับ

อ้างอิง
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/E/152/10.PDF
http://www.hs9dmc.com/echolink/what_is_echolink/echolink1.htm
http://www.hs9dmc.com/echolink/sysop/link_frequency.htm
http://www.100watts.com/smf/index.php?topic=73382.msg386332#msg386332
ร่าง http:///0sLlHG
----------------------------------------------------------------------------------------------------

ทีนี้ลองมาดู ความถี่วิทยุสมัครเล่นประเทศญี่ปุ่น ในย่าน 2 มิเตอร์ ญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ในโซนเดียวกับไทย คือ ITU R3 และ ญี่ปุ่นใช้ความถี่ ที่ 144-146 MHz
ญี่ปุ่นมีจำนวนนักวิทยุสมัครเล่นมากเป็นอันดับ 1 ของโลก (อันดับ3คือไทย)
*ข้อมูลจำนวนนักวิทยุสมัครเล่นโลก http://en.wikipedia.org/wiki/Amateur_radio_operator

http://www.jarl.or.jp/English/6_Band_Plan/JapaneseAmateurBandplans20090330.pdf



ตรงช่อง VOIP คือ 144.50 -144.60  แบนด์วิดธ์ 100kHz จำนวน ช่อง สมมติ ถ้า ช่องละ 10k = 10 ช่อง หรือ 12.5k = 8 ช่อง หรือ 25k = 4 ช่อง *ทุกกรณี อาจเผื่อการ์ดแบนด์
สรุป ความเป็นไปได้ของ VOIP ญี่ปุ่น ที่จะมีช่องมากที่สุด ใน ย่าน 2 เมตร คือ 10 ช่อง ที่แบนด์วิดธ์ช่องล่ะ 10kHz  และคิดว่า ต้องใช้เครื่องชนิด Narrow Band เท่านั้นจึงจะไม่รบกวนกัน
หากเราจะเทียบความถี่ ญี่ปุ่น - ไทย ก็ยังไม่รู้จะเทียบอย่างไรดี เช่น
เทียบระหว่าง สัดส่วน จำนวนนักวิทยุสมัครเล่น และ ความถี่ที่ใช้งานได้ ญี่ปุ่นมีความถี่ที่อนุญาต มากกว่าไทย
สมมติว่า ไทย เรียกร้อง ช่องความถี่ อย่างน้อย 12 ช่อง ที่แบนด์วิดธ์ช่องละ 12.5k   ก็จะใช้ความถี่มากกว่า ญี่ปุ่น (แต่ญี่ปุ่นมีนักวิทยุสมัครเล่นมากกว่าไทย) (แต่ญี่ปุ่นก็มีความถี่ 430ด้วย)

ต่อไป  ลองไปดู สถานะการใช้งาน  Echolink ประเทศญี่ปุ่น  โดย ดู จาก Conferences  ที่ http://echolink.org/logins.jsp#conf
ก็ไม่แน่ใจว่า มีห้องไหนเป็นของญี่ปุ่นบ้าง แต่จะขอยกตัวอย่าง ห้องที่คิดว่าใช่ญี่ปุ่น แน่ๆ เช่น...
*ALLJAPAN*   * ALL-JAPAN Net * [9/500]    มีผู้ออนไลน์ 9 node
*APRS-JP*   JAPAN. [1/99]  มีผู้ออนไลน์ 1 node
*BOUSAI*   Emergency Comms JA [1/99]    มีผู้ออนไลน์ 1 node
*BOUSAI-2*   Emergency Comms JA [2/99]  มีผู้ออนไลน์ 1 node
*JA7YCQ*   Sendai Nat'l College [0/20]   
*JH1KRX*   chiba area Conferenc [0/30]
*JOUBAN*   Japan Omnibus User [0/200]   
*JH7GLZ*   KITA GUNI [11/30]   มีผู้ออนไลน์ 11 node
*KYUSYU*   ALL KYUSYU-NET [25/50]  มีผู้ออนไลน์ 25 node
*NAGANO*   ALL Nagano-Net [14/50] มีผู้ออนไลน์ 14 node
*OKAYAMA*   Mascat-Net Okayama [5/50]  มีผู้ออนไลน์ 5 node

 ตัวอย่างคร่าวๆ เห็นว่า มีผู้ซึ่ง ออนไลน์อยู่ใน Conf จำนวน 0-25 node
นอกนั้น อาจจะออนไลน์ โดยไม่ เชื่อมต่อกับ ห้อง Conf ใดๆ โดยดูจาก http://echolink.org/logins.jsp#link  ที่มีคอลซาย นำ หน้าด้วย JAA - JSZ , 7JA - 7NZ , 8JA - 8NZ
และได้ ทดลองเข้าไปสุ่มฟัง ตาม Conf ของญี่ปุ่น  พบว่า เงียบ...............................  ไม่มีใครคุยกัน ไม่รู้ว่าเพราะอะไร
เท่าที่ประเมิน คร่าวๆ...  โดยส่วนใหญ่ ไม่เชื่อมต่อเข้ากับ Conf แต่อาจจะเชื่อมต่อกันเอง หรือ ไม่เชื่อมต่อกับใคร  แล้วใช้วิธี ให้ผู้ใช้งานทางวิทยุ เป็นผู้ควบคุม (DTMF Remote) ให้เชื่อมต่อได้เอง ตามความต้องการที่จะใช้งาน มีข้อดีคือ สิ้นเปลืองความถี่น้อย

ส่วนในประเทศไทย
*10WATTS*   www.10watts.org [32] มีผู้ออนไลน์ 32 node
*145MHZ*   www.145mhz.org [29] มีผู้ออนไลน์ 29 node
*DOI_TUNG*    [7]  มีผู้ออนไลน์ 7 node
*HAM-CU*   Established,9/5/09 [76]  มีผู้ออนไลน์ 76 node
*PATTANI*   www.hamthai.in.th [5/200] มีผู้ออนไลน์ 5 node
*PRAKAN*    THAILAND. [4] มีผู้ออนไลน์ 4 node
*THAI*    [8] มีผู้ออนไลน์ 8 node
ส่วน สถานีประเภท -L -R ที่ออนไลน์ ส่วนใหญ่ก็ จะเชื่อมต่อ อยู่ใน Conf ทั้งนั้น ซึ่งการใช้งานแบบนี้ หากมี 1 คู่สถานี กำลังติดต่อกัน  ก็จะทำให้ ความถี่ทั้งหมดที่ออกอากาศอยู่ (ซึ่งอาจจะทั่วประเทศ) ถูกใช้ เฉพาะ 1 คู่สถานีนั้นเท่านั้น
ข้อดี คุยกัน 2 คน จะได้ยินทั้งประเทศ
ข้อเสีย ถ้าข้อมูลที่คุย ไม่ใช่เรื่องทางวิทยุสมัครเล่น หรือ ข้อความสำคัญ ก็จะถูกใช้ความถี่จำนวนมากไปกับเรื่องนั้นๆ



สรุปข้อคิดเห็น
ร่างระเบียบ ใหม่ กำหนดไว้ว่า จะมี ช่องความถี่ Voice Internet Gate way 2 ช่องความถี่ คือ 146.2625 และ 146.2750 MHz

และมีผู้กำลัง ร่างข้อเสนอให้ปรับปรุงการใช้งานความถี่ช่วง 144-146.5MHz ใหม่  ไว้แล้วเผื่อยื่นให้ผู้กำกับดูแลพิจารณา
ดูที่ http://hs2jfw.blogspot.com/2013/09/144-1465mhz.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 กันยายน 2013, 20:07:29 โดย supichan » บันทึกการเข้า
สายน้ำ
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3163


5AC1**ARES** OF THAILAND


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 12 กันยายน 2013, 20:01:47 »

สุดยอดครับ อิอิ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

<<เครือข่ายผู้พิทักษ์กิจการวิทยุสมัครเล่นไทย>>
hs3kvx(ทศ)
เจ็บแล้วจำคือคน เจ็บแล้วทนคื่อ........
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 15697


บุญคุณต้องทดแทน


« ตอบ #4 เมื่อ: 13 กันยายน 2013, 12:48:26 »

ทำให้มันเป็นรูปแบบสากลไปเลยครับ  จะได้ไม่มีปัญหาทีหลัง
บันทึกการเข้า

ทศพร หูสันเทียะ (สคพ.) กรมวิชาการเกษตร ลาดยาว จตุจักร กทม.10900 t.0814207703
supichan
Jr. Member
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 87


« ตอบ #5 เมื่อ: 13 กันยายน 2013, 19:14:23 »

ทำให้มันเป็นรูปแบบสากลไปเลยครับ  จะได้ไม่มีปัญหาทีหลัง

สากล คือ?
บันทึกการเข้า
supichan
Jr. Member
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 87


« ตอบ #6 เมื่อ: 15 กันยายน 2013, 09:27:58 »

ทีนี้ลองมาดู ความถี่วิทยุสมัครเล่นประเทศอินโดนีเซีย ในย่าน 2 มิเตอร์ อินโดนีเซีย ซึ่งอยู่ในโซนเดียวกับไทย คือ ITU R3 และ อินโดนีเซียใช้ความถี่ ที่ 144-148 MHz
http://www.orari.or.id/file/BANDPLAN2009.pdf



147.600 - 148.000 MHz  VoIPGateway
มี หมายเหตุ Note M,J
J. Kelebaran Pita FM tidak melebihi 16 KHz  แปลว่า ใช้แบนด์วิดธ์FM 16kHz (น่าจะอยู่ใน Step 25kHz)
M.Gateway unattended tidak diijinkan tanpa proteksi PTT Timer
สรุป ความเป็นไปได้ของ VOIP อินโดนีเซีย 147.6-148 = 400kHz  ที่จะมีช่องมากที่สุด ใน ย่าน 2 เมตร คือ 400/25 = 16 ช่อง ที่แบนด์วิดธ์ช่องล่ะ 25kHz
หมายเหตุ ที่ใช้ได้ถึง 16 ช่อง อย่าลืมว่า อินโดนีเซีย มีความถี่ กว้าง ถึง 144-148MHz (แต่ไทยตอนนี้ความถี่ยังไม่ถึง 148)


ทีนี้ลองมาดู ความถี่วิทยุสมัครเล่นประเทศมาเลเซีย ในย่าน 2 มิเตอร์ มาเลเซีย ซึ่งอยู่ในโซนเดียวกับไทย คือ ITU R3 และ มาเลเซียใช้ความถี่ ที่ 144-148 MHz
http://www.skmm.gov.my/skmmgovmy/files/attachments/Guideline_Amateur_Radio_Service_2012.pdf



หน้า 71 of 76
Frequency band : 144.7 MHz to 145.0 MHz Simplex System & Channel bandwidth = 25 kHz
(Freq. 144.825 MHz & 144.875 MHz are spot freq. for internet voice gateway)
ผมก็ไม่กล้าสรุปว่ามีกี่ช่อง เพราะอ่านแล้วยังไม่เข้าใจโดยละเอียด  แต่จาก ตัวอักษร ที่เขียนถึงคำว่า  internet voice gateway กำหนด 2 ช่องคือ 144.825 MHz & 144.875 MHz

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อมูล ที่มีให้เปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศ ใกล้บ้าน ITU R3 เช่นเดียวกับ ไทย ซึ่งอย่างน้อยสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาจัดแบนด์แพลน ได้
ซึ่ง จำนวนความถี่ที่ใช้งาน "มาก" อาจจะไม่ใช่คำตอบสุดท้ายเสมอไป  สิ่งสำคัญคือ การจัดการและประสิทธิภาพของการใช้งานและผู้ใช้งาน
บันทึกการเข้า
HAMSIAM.COM # NO.1 HAM COMMUNITY OF THAILAND
   

 บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  


 
กระโดดไป:  

ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ�
ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ�


Webmaster Earn Money! By Affiliate Program 100% Pay
www.samuismile.com

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF | SMF © 2006-2009, Simple Machines
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!