HAMSIAM.COM # NO.1 HAM COMMUNITY OF THAILAND
19 เมษายน 2024, 17:02:59 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: สมาชิกคนเดียว อนุญาตให้มี1 acc ห้ามสมัครหลาย acc ไม่ว่าเพื่อการใดก็ตาม
หากมีการตรวจพบหรือมีผู้แจ้งให้ตรวจสอบ และตรวจสอบเจอ ถือว่าผิดกฎ มีโทษแบนยาว
หลังจากนั้นหากมีการรายงานหรือตรวจพบมีพฤติกรรมใช้หลาย acc ให้คุณ/ให้โทษ กับ ตนเอง/พวกพ้อง/ผู้อื่น หรืออำพรางนิติกรรมใดๆ มีโทษแบนถาวร
กรุณารักษากฎระเบียบประกาศนี้อย่างเคร่งครัดด้วยครับ
Google
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  


หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อคิดสำหรับคนขับรถพยาบาลฉุกเฉินทุกๆท่าน(สิทธิพิเศษของท่าน จงรักษามันไว้ให้ดี)  (อ่าน 17167 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
แฮมโคราชา
แฮมรุ่นเก๋าแต่ไม่เก่า
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 12476


HS3BXY ณ โคราชา


เว็บไซต์
« เมื่อ: 04 ตุลาคม 2011, 18:45:29 »

(หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์คดีปกครอง ฉบับวันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2554)

ขับรถพยาบาลฉุกเฉิน แต่บังเอิญ ... เกิดอุบัติเหตุต้องรับผิดหรือไม่?

คดีที่นำมาฝากกันในวันนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการขับรถพยาบาลฉุกเฉินแล้วเกิดอุบัติเหตุทำให้รถยนต์ของทางราชการเสียหาย

เรื่องนี้เกิดขึ้นจากการที่ผู้ฟ้องคดีได้ขับรถพยาบาล เพื่อส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลอื่น ระหว่างทางได้เกิดอุบัติเหตุชนกับรถสามล้อ หลังจากที่ได้สอบสวนข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดแล้ว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1(จังหวัด) เห็นว่า ความเสียหายไม่ได้เกิดจากความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้ฟ้องคดี แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (กระทรวงการคลัง) เห็นว่า อุบัติเหตุเกิดจากการขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูง เพื่อจะแซงรถสามล้อที่วิ่งอยู่ข้างหน้าใกล้บริเวณทางแยกซึ่งเป็นเขตห้ามแซง สมควรชะลอความเร็ว และฝนตกถนนลื่นจะต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก ถือว่าผู้ฟ้องคดีได้กระทำการด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในอัตราร้อยละ 60 ของค่าเสียหาย ผู้ถูกฟ้ องคดีที่ 1 จึงมีหนังสือแจ้งให้ชดใช้ค่าเสียหาย

ผู้ฟ้องคดีไม่เห็นด้วย โดยเห็นว่า ได้ขับรถพยาบาลส่งต่อผู้ป่ วยภายใต้เหตุจำเป็นเร่งด่วนเพื่อประโยชน์ของทางราชการ โดยได้ให้สัญญาณไฟและเปิ ดเสียงไซเรนและเชื่อว่าผู้ขับขี่รถยนต์โดยทั่วไปย่อมอำนวยความสะดวกให้รถพยาบาล ขณะเกิดเหตุขับด้วยความเร็ว 90 ก.ม./ชั่วโมง เหตุที่เกิดขึ้นเป็นเหตุสุดวิสัย จึงอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวแต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีความเห็นตามผู้ถูกฟ้ องคดีที่ 2 ผู้ฟ้องคดีจึงฟ้องศาลปกครองขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2

เรื่องนี้ศาลปกครองสูงสุดท่านจะมีคำพิพากษาเป็นประการใด? ผู้ฟ้องคดีจะมีสิทธิฟ้องกระทรวงการคลังหรือไม่? และคำสั่งจังหวัดที่ให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ?

น่าสนใจทีเดียวครับ

ปัญหาว่า ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิฟ้องกระทรวงการคลังหรือไม่ ?

ตามข้อ 17 และข้อ 18 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 กำหนดว่า เมื่อผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดได้รับผลการพิจารณาแล้วให้วินิจฉัยว่ามีผู้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่ แต่ยังไม่ต้องแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบและส่งสำนวนให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ เมื่อกระทรวงการคลังมีความเห็นเป็นประการใดก็ให้มีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลังและแจ้งให้ผู้ต้องรับผิดทราบ

ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า แม้ความเห็นของกระทรวงการคลังมีผลบังคับผู้แต่งตั้งและมีผลผูกพันหน่วยงานต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่ที่จะต้องรับผิดแต่ก็เป็ นเพียงส่วนหนึ่งของการพิจารณาทางปกครองเพื่อออกคำสั่งทางปกครองเท่านั้น ยังไม่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลงโอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล อันจะเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ใช่ผู้เดือดร้อนเสียหายจากหนังสือดังกล่าว จึงไม่มีสิทธิฟ้ องผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (กระทรวงการคลัง) ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

ส่วนผู้ฟ้องคดีจะต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือไม่?

ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีขับรถพยาบาลฉุกเฉินไปปฏิบัติหน้าที่จึงมีสิทธิขับรถเกินอัตราความเร็วที่กำหนดไว้ ขับรถผ่านสัญญาณจราจรใดๆ ที่ให้รถหยุดแต่ต้องลดความเร็วของรถให้ช้าลงตามสมควรตามมาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 หรือข้อบังคับการจราจรเกี่ยวกับช่องเดินรถทิศทางของการขับรถหรือการเลี้ยวรถที่กำหนดไว้ เมื่อผู้ฟ้องคดีขับรถมาด้วยความเร็วประมาณ 100 ก.ม./ชั่วโมงโดยเปิดสัญญาณไฟวับวาบและเปิดเสียงสัญญาณไซเรนตลอดทาง ผู้ขับขี่รถคันอื่นจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 76แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ให้ผู้ขับขี่ที่เห็นรถฉุกเฉินในขณะปฏิบัติหน้าที่ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบหรือได้ยินเสียงสัญญาณไซเรน ต้องให้รถฉุกเฉินผ่านไปก่อนโดยต้องหยุดรถหรือจอดให้ชิดขอบทางด้านซ้ายโดยเร็วที่สุดและต้องใช้ความระมัดระวัง แต่เมื่อผู้ฟ้องคดีขับรถมาถึงที่เกิดเหตุ ผู้ขับขี่รถสามล้อเครื่องได้เลี้ยวขวาเข้าหมู่บ้านโดยไม่ให้สัญญาณอันเป็นการไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และยังเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 36 ประกอบมาตรา 37 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ต้องให้สัญญาณด้วยมือและแขน หรือไฟสัญญาณในการที่จะเลี้ยวรถ ผู้ฟ้องคดีปฏิบัติหน้าที่ในการขับรถพยาบาลโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเกิดจากผู้ขับขี่รถสามล้อเครื่องเป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อ จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ฟ้องคดีจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหาย ตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 152/2554)

พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของจังหวัดที่ให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหาย

เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์ที่ดีครับ สำหรับผู้ใช้รถใช้ถนน หากเห็นว่ามีรถฉุกเฉินที่ใช้ไฟสัญญาณหรือเสียงสัญญาณไซเรนอยู่บนถนนด้วย ผู้ใช้รถก็มี “หน้าที่” หลบหลีกโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อให้รถฉุกเฉินผ่านไปก่อน เพราะผู้ขับรถฉุกเฉิน “มีสิทธิ” ขับรถเกินอัตราความเร็วที่กำหนด ขับผ่านสัญญาณจราจรที่ให้รถหยุดสามารถขับรถในช่องทางเดินรถที่ไม่ใช่ช่องทางปกติ หรือขับรถในทิศทางหรือการเลี้ยวรถในที่ที่ไม่ใช่ปกติได้ ...แต่กระนั้น .. ก็จะต้องไม่กระทำด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงนะครับ!
                                                                                                          นายปกครอง

บันทึกการเข้า

HS3BXY (แอท) ปากช่อง
โทร 0933243377 AIS
HAMSIAM.COM # NO.1 HAM COMMUNITY OF THAILAND
« เมื่อ: 04 ตุลาคม 2011, 18:45:29 »

พื้นที่โฆษณา ขาย เครื่องชาร์จแบตเตอรี่อัตโนมัติ CTEK จาก สวีเดน ดีที่สุด/ถูกที่สุด+ประกัน5ปี
คลิ้กไปดูที่ลิ้งค์ข้างล่างเลยครับ
http://www.spy-thai.com/


GPS ติดตามรถหาย ดักฟังเสียงสนทนาในรถ หรือระบุตำแหน่งรถ สั่งดับเครื่อง
ติดตามรถได้ทั่วไทยโดยไม่มีค่าบริการรายเดือน / Tel. 086-9455977
 บันทึกการเข้า
hs6sph
Sr. Member
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #1 เมื่อ: 04 ตุลาคม 2011, 18:59:39 »

ได้ความรู้เพิ่มเติม..ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

HS6SPH
5 หมู่15
ต.บ้านกล้วย อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ 67190
085-2721231
145.000  144.975 แดงช่อง30
HAMSIAM.COM # NO.1 HAM COMMUNITY OF THAILAND
« ตอบ #1 เมื่อ: 04 ตุลาคม 2011, 18:59:39 »

 บันทึกการเข้า
rakmarnburapa
member..
Full Member
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 176


« ตอบ #2 เมื่อ: 04 ตุลาคม 2011, 19:17:59 »

ไม่จำเป็นเสมอไปครับ   รถที่ได้รับอนุญาตติดสัญญาไฟ  และ  เสียง  ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษครับ  มีมาตราอยู่เดี๋ยวผมจะลองไปหาดู
เพราะผมเคยทำงานเกี่ยวกับศูนย์บันเทาภัย  หรือเรียกว่า  อปพร. เคยออกเหตุ  และเกิดอุบัติเหตุ  ชน  กับรถ เก๋ง บริเวณ 4 แยก  และรถ อปพร.
ได้ผ่าสัญญาไฟแดง ชนกับรถเก๋ง เกิดความเสียหาย
เรื่องถึงศาล       สรุป ฝ่าย  อปพร. ผิด  เพระาผู้ที่ขับขี่ไม่สามาคร่าดเดาได้ว่ารถที่ได้สัญญานเสียงและไฟ วิ่งมาจากไหน
เมื่อในกฏหมายบัญญัตว่า  สัญญานไฟเขียวให้รถวิ่งผ่านไปได้


เป็นเครศึกษษนะครับ
บันทึกการเข้า

ที่ส่งของ  โทร  : 085-323-5906
นายอภิรักษ์  วงค์ปินตา (HS5XEY)
102 หมู่ที่ 2 ตำบล  เนินมะปราง  อำเภอ   เนินทะปราง  จังหวัด   พิษณุโลก 
65190
rakmarnburapa
member..
Full Member
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 176


« ตอบ #3 เมื่อ: 04 ตุลาคม 2011, 19:34:30 »

การติดตั้งสัญญาณไฟวาบวาบ
 โดย ร.ต.ท.ชูมิตร ชุณหวาณิชพ นบ.,น.บ.ท.,นม.


ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 4 ได้ให้คำนิยามของ “รถฉุกเฉิน” ไว้ว่า รถดับเพลิงและรถพยาบาลของราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาคและราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรถอื่นที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีให้ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือให้ใช้เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่จะกำหนดให้ และ พ.ร.บ.ดังกล่าว ได้บัญญัติเกี่ยวกับการปฏิบัติของรถฉุกเฉินไว้ ดังนี้

มาตรา ๗๕ ในขณะที่ผู้ขับขี่ขับรถฉุกเฉินไปปฏิบัติหน้าที่ ผู้ขับขี่มีสิทธิดังนี้

(๑) ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ ใช้เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่อธิบดีกำหนดไว้

(๒) หยุดรถหรือจอดรถ ณ ที่ห้ามจอด

(๓) ขับรถเกินอัตราความเร็วที่กำหนดไว้

(๔) ขับรถผ่านสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรใด ๆ ที่ให้รถหยุด แต่ต้องลดความเร็วของรถให้ช้าลงตามสมควร

๕) ไม่ต้องปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือข้อบังคับการจราจรเกี่ยวกับช่องเดินรถ ทิศทางของการขับรถหรือการเลี้ยวรถที่กำหนดไว้

ในการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังตามควรแก่กรณี

มาตรา ๗๖ เมื่อคนเดินเท้า ผู้ขับขี่ หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์เห็นรถฉุกเฉินในขณะปฏิบัติหน้าที่ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือได้ยินเสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่อธิบดีกำหนดไว้ คนเดินเท้า ผู้ขับขี่ หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องให้รถฉุกเฉินผ่านไปก่อนโดยปฏิบัติดังต่อไปนี้

(๑) สำหรับคนเดินเท้าต้องหยุดและหลบให้ชิดขอบทาง หรือขึ้นไปบนทางเขตปลอดภัย หรือไหล่ทางที่ใกล้ที่สุด

(๒) สำหรับผู้ขับขี่ต้องหยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดขอบทางด้านซ้าย หรือในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางอยู่ทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถ ต้องหยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดช่องเดินรถประจำทาง แต่ห้ามหยุดรถหรือจอดรถในทางร่วมทางแยก

(๓) สำหรับผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องบังคับสัตว์ให้หยุดชิดทาง แต่ห้ามหยุดในทางร่วมทางแยก

ในการปฏิบัติตาม (๒) และ (๓) ผู้ขับขี่และผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องรีบกระทำโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะกระทำได้และต้องใช้ความระมัดระวังตามควรแก่กรณี

มาตรา ๑๔๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับการขออนุญาต ต้องดูประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตใช้ไฟสัญญาณวับวาบ และเสียงสัญญาณ อาศัยอำนาจตามความในข้อกำหนดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง กำหนดเงื่อนไขในการใช้ไฟสัญญาณวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นและเครื่องหมายแสดงลักษณะของรถฉุกเฉิน ฉบับลงวันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจึงออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตใช้ไฟสัญญาณวับวาบและเสียงสัญญาณไว้ ดังต่อไปนี้ …….

ข้อ ๒ รถยนต์และรถจักรยานยนต์ในราชการทหารหรือตำรวจ รถดับเพลิง รถพยาบาล และรถยนต์ของทางราชการอื่น หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ

๒.๑ เป็นรถที่ใช้ปฏิบัติภารกิจด้านการถวายความปลอดภัย, การรักษาความปลอดภัย, การป้องกันปราบปรามอาชญากรรม, การจราจร, การปฏิบัติงานในทางเพื่อการบริการสาธารณะ ซึ่งหน่วยงานนั้นๆ มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด

๒.๒ การขออนุญาต

ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นหนังสือร้องขอต่อผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจจราจร ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นหนังสือร้องขอต่อผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัด พิจารณามีความเห็นเสนอผู้มีอำนาจอนุญาต โดยมีหลักฐานดังนี้

๒.๒.๑ คำร้องขออนุญาตของหัวหน้าส่วนราชการ

๒.๒.๒ สำเนาภาพถ่ายใบคู่มือการจดทะเบียนรถ ๑ ฉบับ

ข้อ ๓ รถดับเพลิงของเอกชน

๓.๑ สถานภาพของหน่วยงาน

๓.๑.๑ ต้องมีสถานภาพเป็นนิติบุคคล ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกิจการบรรเทาสาธารณภัย สำหรับในกรุงเทพมหานคร ต้องเป็นสมาชิกของสมาคมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยแห่งประเทศไทยด้วย

๓.๑.๒ ต้องมีระเบียบ ข้อบังคับ และต้องมีคณะกรรมการบริหารและสมาชิก ซึ่งผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรบรรเทาสาธารณภัย หลักสูตรการป้องกันและระงับอัคคีภัยจากกองบังคับการตำรวจดับเพลิงแล้ว ไม่น้อยกว่า ๕๐ คน

๓.๑.๓ ต้องมีสถานที่ทำการหรือสำนักงาน สถานที่จอดรถ สถานที่เก็บรถ ตลอดจนสถานที่ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงเพื่อกิจการบรรเทาสาธารณภัยเป็นของตนเอง หากเป็นสาธารณสถานหรือสถานที่ของผู้อื่น ต้องมีหนังสืออนุญาตจากเจ้าของสถานที่มาแสดงด้วย

๓.๒ ลักษณะรถและอุปกรณ์ประจำรถ

๓.๒.๑ เป็นรถดับเพลิงมาตรฐาน จะมีถังน้ำในตัวหรือไม่ก็ได้หรือเป็นรถกระบะบรรทุกเปิดท้ายซึ่งมีเครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิดหาบหามประจำรถ

๓.๒.๒ สีของรถต้องเป็นสีแดงตลอดทั้งคัน

๓.๒.๓ อุปกรณ์ดับเพลิงประจำรถ อย่างน้อยจะต้องมี

๓.๒.๓.๑ สายสูบหรือสายส่งน้ำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒.๕ นิ้ว ๑๕ เส้น

๓.๒.๓.๒ ท่อดูด ๑ ท่อ

๓.๒.๓.๓ หัวฉีดธรรมดาและชนิดปรับเป็นฝอยอย่างละ ๑ หัว

๓.๒.๓.๔ ข้อต่อทางแยก ๒ ทาง ๑ หัว

๓.๒.๓.๕ เครื่องมือเปิดประปาหัวแดง ๑ อัน

๓.๒.๓.๖ ขวาน ชะแลง และตาขอด้ามไม้ขนาดยาว ๑ ชุด

๓.๒.๓.๗ เครื่องดับเพลิงเคมีขนาดไม่น้อยกว่า ๑๐ ปอนด์ ชนิดดับไฟประเภทเอ.บี.ซี. ได้ จำนวน ๔ เครื่อง

๓.๒.๓.๘ บันไดดับเพลิง ๑ อัน

๓.๒.๔ รถและอุปกรณ์ต้องมีสภาพใช้การได้ดี

๓.๓ การขออนุญาต ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นหนังสือร้องขอต่อผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจจราจร ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นหนังสือร้องขอต่อผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัด โดยมีหลักฐานดังนี้

๓.๓.๑ คำร้องขออนุญาตของนิติบุคคล ๑ ชุด

๓.๓.๒ สำเนาภาพถ่ายการจดทะเบียนนิติบุคคล ๑ ชุด

๓.๓.๓ สำเนาภาพถ่ายระเบียบข้อบังคับของนิติบุคคล ๑ ชุด

๓.๓.๔ รายชื่อกรรมการบริหารและสมาชิกของนิติบุคคล ๑ ชุด

๓.๓.๕ สำเนาภาพถ่ายใบคู่มือการจดทะเบียนรถ ๑ ชุด

๓.๓.๖ ภาพถ่ายสี ด้านหน้า ด้านข้างทั้งสองข้าง และด้านหลังของรถ หากเป็นรถกระบะบรรทุกเปิดท้ายต้องให้เห็นอุปกรณ์ดับเพลิงภายในรถขนาด ๕ 5 ๖ นิ้ว ๑ ชุด

๓.๓.๗ บัญชีอุปกรณ์ดับเพลิงประจำรถพร้อมภาพถ่ายอุปกรณ์อย่างละ ๑ ชุด

๓.๔ ให้ผู้บังคับการ กองบังคับการตำรวจจราจร หรือผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ดำเนินการส่งเรื่องและรถไปให้สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพหมานครหรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ตรวจสภาพก่อนแล้วจึงให้รวบรวมหรือหลักฐานพร้อมมีความเห็นเสนอ ผู้มีอำนาจอนุญาต

๓.๕ ข้อปฏิบัติการใช้รถ

ผู้ขับขี่รถต้องเป็นสมาชิกของนิติบุคคลผู้รับอนุญาต และต้องแต่งเครื่องแบบอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยขณะปฏิบัติหน้าที่

ข้อ ๔ รถพยาบาลของเอกชน

๔.๑ สถานภาพของหน่วยงาน

ต้องมีสถานภาพเป็นโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลแผนปัจจุบันที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน หรือสถานพยาบาลประจำโรงงานที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล

๔.๒ ลักษณะรถและอุปกรณ์ประจำรถ

๔.๒.๑ เป็นรถตู้หรือรถที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ขนาดมาตรฐานรถพยาบาลสีขาวตลอดทั้งคัน

๔.๒.๒ ภายในรถมีกระจกปิดกั้นระหว่างห้องคนขับกับห้องผู้ป่วย และมีเครื่องระบายอากาศระบบไฟฟ้าบนหลังคา

๔.๒.๓ มีอุปกรณ์รักษาพยาบาลและเครื่องช่วยชีวิตฉุกเฉินดังนี้

๔.๒.๓.๑ อุปกรณ์ประจำรถภายในห้องผู้ป่วย

๔.๒.๓.๑.๑ เปลนอนสำหรับผู้ป่วย ขนาดมาตรฐาน

๔.๒.๓.๑.๒ ชุดให้อ๊อกซิเจน สามารถใช้รักษาผู้ป่วยติดต่อกันได้นานไม่น้อยกว่า ๑ ชั่วโมง

๔.๒.๓.๑.๓ ชุดเครื่องดูดเสมหะ ระบบไฟฟ้า

๔.๒.๓.๑.๔ เก้าอี้สำหรับพยาบาล

๔.๒.๓.๑.๕ ตู้เก็บเวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์

๔.๒.๓.๑.๖ อุปกรณ์แขวนขวดน้ำเกลือ

๔.๒.๓.๒ อุปกรณ์ช่วยชีวิตฉุกเฉินและเวชภัณฑ์ (CPR KIT)

๔.๒.๓.๒.๑ เครื่องวัดแรงดันโลหิต (SPHYGMOMANOMETER)

๔.๒.๓.๒.๒ เครื่องฟังหน้าอก (STETHOSCOPE)

๔.๒.๓.๒.๓ เครื่องช่วยหายใจและผายปอด (PORTABLE RESPIRATOR OR AMBU BAG)

๔.๒.๓.๒.๔ เครื่องตรวจส่องภายในหลอดเสียงและท่อหลอดลม (LARYNGOSCOPE AND ENDOTRACHEAL TUBE)

๔.๒.๓.๒.๕ ชุดผ่าตัดเล็ก (MINOR SUR GICAL SET)

๔.๒.๓.๒.๖ เวชภัณฑ์และยาฉุกเฉินรถพยาบาลและอุปกรณ์ ต้องอยู่ในสภาพใช้การได้ดีและให้ความปลอดภัย

๔.๓ การขออนุญาต

ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นหนังสือร้องขอต่อผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจจราจร ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นหนังสือร้องขอต่อผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัด พร้อมหลักฐานดังนี้

๔.๓.๑ คำร้องขออนุญาตของนิติบุคคล

๔.๓.๒ สำเนาภาพถ่ายการจดทะเบียนนิติบุคคล ๑ ฉบับ

๔.๓.๓ สำเนาภาพถ่ายใบอนุญาตตั้งสถานพยาบาล (แผนปัจจุบัน) ๑ ฉบับ

๔.๓.๔ สำเนาภาพถ่ายใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล (แผนปัจจุบัน) ๑ ฉบับ

๔.๓.๕ สำเนาภาพถ่ายใบคู่มือการจดทะเบียนรถ ๑ ฉบับ

๔.๓.๖ ภาพถ่ายสีด้านหน้า ด้านข้างทั้งสองข้าง และด้านหลังของรถและอุปกรณ์การแพทย์ ภายในรถขนาด ๕ X ๖ นิ้ว ๑ ชุด

๔.๓.๗ บัญชีอุปกรณ์ประจำรถตามข้อ ๔.๒ จำนวน ๑ ชุด

๔.๔ ให้ผู้บังคับการ กองบังคับการตำรวจจราจร หรือผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ดำเนินการส่งเรื่องและรถไปให้แพทย์ของโรงพยาบาลตำรวจหรือแพทย์ของโรงพยาบาลประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี ตรวจสภาพก่อนแล้วจึงให้รวบรวมหลักฐานพร้อมมีความเห็นเสนอผู้มีอำนาจอนุญาต

ข้อ ๕ รถอื่นของเอกชน

๕.๑ สถานภาพของหน่วยงาน

ต้องมีสถานภาพเป็นนิติบุคคลและมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในกิจการดังนี้

๕.๑.๑ นำส่งเครื่องอุปโภคบริโภคช่วยเหลือบุคคลซึ่งประสบเคราะห์กรรม กรณีอุบัติภัย หรือกิจการสาธารณประโยชน์ หรือกิจการสาธารณูปโภค อันเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วน หรือ

๕.๑.๒ การปฏิบัติงานในทางเพื่อความปลอดภัยของสาธารณชนอันเป็นกิจการสาธารณประโยชน์หรือใช้เป็นรถโรงเรียน

๕.๒ ลักษณะรถและอุปกรณ์ประจำรถไม่จำกัด แต่ต้องมีสภาพใช้การได้ดีและต้องเป็นไปตามความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ในการใช้

๕.๓ การขออนุญาต

ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นหนังสือร้องขอต่อผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจจราจร ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นหนังสือร้องขอต่อผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัด โดยมีหลักฐานดังนี้

๕.๓.๑ คำร้องขออนุญาตของนิติบุคคล ๑ ชุด

๕.๓.๒ สำเนาภาพถ่ายการจดทะเบียนนิติบุคคล ๑ ชุด

๕.๓.๓ สำเนาภาพถ่ายใบคู่มือการจดทะเบียนรถ ๑ ชุด

๕.๓.๔ ภาพถ่ายสี ด้านหน้า ด้านข้างทั้งสองข้าง และด้านหลังของรถขนาด ๕ x ๖ นิ้ว ๑ ชุด

๕.๔ ให้ผู้บังคับการ กองบังคับการตำรวจจราจร หรือผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด แล้วแต่กรณี ดำเนินการจัดให้มีการตรวจสภาพรถก่อนแล้วจึงให้รวบรวมหลักฐานพร้อมมีความเห็นเสนอผู้มีอำนาจอนุญาต

ข้อ 6 รถบริการแพทย์ฉุกเฉิน

6.1 เป็นรถที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากปลัดกระทรวงสาธารณสุข และหนังสือรับรองมาตรฐานยังไม่หมดอายุในวันที่ยื่นเรื่องขออนุญาต

6.2 ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นหนังสือร้องขอต่อผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจจราจร ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นหนังสือร้องขอต่อผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัด โดยมีหลักฐานดังนี้

6.2.1 คำร้องขอติดตั้งไฟสัญญาณวับวาบแสงแดงและน้ำเงินที่ผ่านการเห็นชอบของผู้ได้รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข

6.2.2 สำเนาภาพถ่ายใบคู่มือการจดทะเบียนรถ 1 ฉบับ

6.3 ให้ผู้มีอำนาจอนุญาต อนุญาตให้รถบริการการแพทย์ฉุกเฉินใช้ไฟสัญญาณวับวาบแสงแดงและน้ำเงินได้เป็นระยะเวลาเท่ากับระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือรับรองมาตรฐานของปลัดกระทรวงสาธารณสุข

 ไฟวับับวาบ (ไซเรน) ชุดสองของผู้กู้กองเสือือ
 โดย ร.ต.อ.ชูมิตร ชุณหวาณิชพิทักษ์1
นว.(สบ1) ผบก.กส.
ว่าที่อัยการผู้ช่วย
 เป็นอีกครั้งที่ผู้เขียนขอนำเสนอความรู้เล็กๆน้อยเพียงเท่าที่มีเวลาจำกัดแด่ท่านผู้อ่านเกี่ยวกับ
 เงื่อนไขการใช้ไฟสัญญาณวับวาบอย่างถูกต้องตามกฎหมายซึ่งเคยเขียนบทความดังกล่าวไปแล้วครั้ง
 ก่อน สำหรับท่านอาสาสมัครมูลนิธิฯต่างๆที่ไม่ได้ใช้รถของหน่วยงานต้นสังกัด หรือใช้รถส่วนตัวที่
 ติดตั้งสัญญาณไฟดังกล่าว ถ้ายังไม่มีเหตุหรือยังไม่มีเหตุอันควรต้องใช้ ระวังจะโดนตรวจค้นใบอนุญาต
 ใช้ไฟฉุกเฉิน หากเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยเฉพาะตำรวจจราจรตรวจพบถ้าไม่ใช่ราชการหรือกู้ชีพ ทางที่ดี
 ท่านควรรีบดำเนินการแก้ไขเบื้องต้น ดังนี้
1. ถอดเก็บ
2. ใช้ซองหุ้มไว้
3. ถ้าเป็นแบบโป๊ะที่ติดบนหลังคารถต้องหุ้มด้วยซองให้มิดชิด
4. ควรใช้สีของแสงไฟสัญญาณให้ถูกต้อง
 ในการประชุมบริหารงานจราจร กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น) ได้กำชับกวดขันรถที่
 ติดสัญญาณไฟวับวาบของบรรดารถอาสาสมัครกู้ภัยต่างๆ ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีรถประเภทดังกล่าว มีการ
 ติดสัญญาณไฟวับวาบและออกมาวิ่งบนท้องถนนโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีการใช้สัญญาณไฟที่มีสีไม่
 ถูกต้องอันที่จริงแล้วการติดตั้งอุปกรณ์สัญญาณไฟวับวาบบนรถ ในพื้นที่กรุงเทพฯ จะต้องขออนุญาต
 จากกองบัญชาการตำรวจนครบาล ส่วนต่างจังหวัดต้องทำเรื่องขออนุญาตจากผู้บังคับการตำรวจภูธร
 จังหวัด โดยรถกู้ภัยอาสาสมัครต่างๆ จะต้องใช้สัญญาณไฟสีเหลืองเท่านั้น รถดับเพลิง
 รถตำรวจจะใช้สัญญาณไฟสีแดง ส่วนรถพยาบาลจะใช้สัญญาณไฟสีแดงและสีน้ำเงิน รถที่ฝ่าฝืนแอบ
 ติดเอง ถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 132 ขับรถในทางเดิน ใช้ไฟสัญญาณ
1 นิติศาสตรบัณฑิต(รามฯ), เนติบัณฑิตไทย, นิติศาสตรมหาบัณฑิต(จุฬาฯ), ทนายความรุ่นที่ 13 ,
ฝ่ายอำนวยการตำรวจ รุ่น 29
 2 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
2
มาตรา ๑๓ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถทุกชนิดในทางเดินรถใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ เสียง
 สัญญาณไซเรน เสียงสัญญาณที่เป็นเสียงนกหวีดเสียงที่แตกพร่า เสียงหลายเสียง เสียงดังเกินสมควร
 หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
 อธิบดีมีอำนาจอนุญาตให้รถฉุกเฉิน รถในราชการทหารหรือตำรวจหรือรถอื่นใช้ไฟสัญญาณ
 วับวาบหรือใช้เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นได้ในการนี้อธิบดีจะกำหนดเงื่อนไขใน
 การใช้ไฟสัญญาณหรือเสียงสัญญาณรวมทั้งกำหนดเครื่องหมายที่แสดงถึงลักษณะของรถดังกล่าวด้วยก็
 ได้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
 มาตรา ๑๕๐ ผู้ใด
(๒) ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา ๑๓ วรรคสอง ต้องระวางโทษ
 ปรับไม่เกินห้าร้อยบาท....
มาตรา ๑๕๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง...ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน
 หนึ่งพันบาท
 ลักษณะ ๗
 รถฉุกเฉิน
 มาตรา ๗๕ ในขณะที่ผู้ขับขี่ขับรถฉุกเฉินไปปฏิบัติหน้าที่ ผู้ขับขี่มีสิทธิดังนี้
(๑) ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ ใช้เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่อธิบดี
 กำหนดไว้
(๒) หยุดรถหรือจอดรถ ณ ที่ห้ามจอด
(๓) ขับรถเกินอัตราความเร็วที่กำหนดไว้
(๔) ขับรถผ่านสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรใดๆ ที่ให้รถหยุด แต่ต้องลดความเร็วของ
 รถให้ช้าลงตามสมควร
(๕) ไม่ต้องปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือข้อบังคับการจราจรเกี่ยวกับช่องเดินรถ
 ทิศทางของการขับรถหรือการเลี้ยวรถที่กำหนดไว้
 ในการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังตามควรแก่กรณี
 มาตรา ๗๖ เมื่อคนเดินเท้า ผู้ขับขี่ หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์เห็นรถฉุกเฉินในขณะปฏิบัติหน้าที่
 ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือได้ยินเสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่อธิบดี
 กำหนดไว้ คนเดินเท้า ผู้ขับขี่หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องให้รถฉุกเฉินผ่านไปก่อนโดยปฏิบัติ
 ดังต่อไปนี้
3
แสงวับวาบโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท นอกจากนี้หากมีการใช้สัญญาณเสียง
 ไซเรน ก็จะมีความผิดกรณีการใช้เสียงไซเรน ก็มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาทด้วยเช่นกัน
 ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้องผู้เขียนจึงขอยกข้อกำหนดกรมตำรวจเรื่อง กำหนด
 เงื่อนไขในการใช้ไฟสัญญาณวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นและเครื่องหมาย
 แสดงลักษณะของรถฉุกเฉินให้ท่านผู้อ่านได้รู้อย่างแจ่มแจ้ง หากทำผิดพลาดไปจะได้แก้ไขให้ถูกต้อง
 และแนะนำให้ผู้อื่นได้มีความรู้สืบทอดกันไป และผู้เขียนยังได้ยกตัวอย่างจากคำพิพากษาศาลฎีกามาให้
 ท่านอ่านประกอบด้วยครับ
 ข้อกำหนดกรมตำรวจ
 เรื่อง กำหนดเงื่อนไขในการใช้ไฟสัญญาณวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่าง
 อื่นและเครื่องหมายแสดงลักษณะของรถฉุกเฉิน
 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 อธิบดีกรม
 ตำรวจกำหนดเงื่อนไขในการใช้สัญญาณวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น และ
 เครื่องหมายแสดงลักษณะของรถฉุกเฉินโดยออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
 ข้อ 1 ให้ยกเลิกข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่อง กำหนดเงื่อนไขในการใช้ไฟสัญญาณวับวาบ เสียง
 สัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น และเครื่องหมายแสดงลักษณะของรถฉุกเฉิน ลงวันที่ 18
ตุลาคม พ.ศ. 2527
 (๑) สำหรับคนเดินเท้าต้องหยุดและหลบให้ชิดขอบทาง หรือขึ้นไปบนทางเขตปลอดภัย หรือ
 ไหล่ทางที่ใกล้ที่สุด
(๒) สำหรับผู้ขับขี่ต้องหยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดขอบทางด้านซ้ายหรือในกรณีที่มีช่องเดินรถ
 ประจำทางอยู่ทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถต้องหยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดช่องเดินรถประจำทาง แต่
 ห้ามหยุดรถหรือจอดรถในทางร่วมทางแยก
(๓) สำหรับผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องบังคับสัตว์ให้หยุดชิดทาง แต่ห้ามหยุดในทางร่วมทางแยก
 ในการปฏิบัติตาม (๒) และ (๓) ผู้ขับขี่และผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องรีบกระทำโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะ
 กระทำได้และต้องใช้ความระมัดระวังตามควรแก่กรณี
 มาตรา ๑๔๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๖...ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
4
ข้อ 2 การขออนุญาตติดตั้งใช้ไฟสัญญาณวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นให้
 เป็นไปตามประกาศของกรมตำรวจ
 ข้อ 3 รถที่จะอนุญาตให้ติดตั้งใช้ไฟสัญญาณวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น
 และเครื่องหมายแสดงลักษณะของรถฉุกเฉิน จะต้องเป็นรถดังนี้
3.1 รถในราชการทหารหรือตำรวจ
3.2 รถดับเพลิงและรถพยาบาลของทางราชการ
3.3 รถอื่นที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมตำรวจ
 รถตามข้อ 3.3 จะต้องมีลักษณะตามที่อธิบดีกรมตำรวจได้มีประกาศ
 กำหนดไว้
.2.2 เสียงสัญญาณหลายเสียง(เสียงสูงต่ำสลับกัน)สำหรับรถพยาบาล
 ข้อ 6 เครื่องหมายแสดงลักษณะของรถฉุกเฉิน
6.1 รถฉุกเฉินยกเว้นรถในราชการทหารหรือตำรวจ จะต้องมีข้อความว่า `รถฉุกเฉินได้รับอนุญาตแล้ว'
เป็นตัวอักษรสีแดงพื้นสีขาว มีขนาดความสูง 10 เซนติเมตร ติดตั้งไว้ที่ด้านข้างรถทั้งสองด้าน
6.2 รถดับเพลิงเอกชน ให้มีข้อความว่า `หน่วยอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัย ..... (ชื่อหน่วยงาน)
 .........' เป็นตัวอักษรสีขาว มีขนาดความสูง 10 เซนติเมตร เหนือข้อความตามข้อ 6.1
 5
 6.3 รถพยาบาลเอกชน ให้มีข้อความระบุชื่อหน่วยงาน เป็นตัวอักษรสีน้ำเงิน มีขนาดความสูง 10
เซนติเมตร เหนือข้อความตามข้อ 6.1
 6.4 รถอื่นปฏิบัติทำนองเดียวกับข้อ 6.3 โดยตัวอักษรเป็นสีขาวอยู่ภายในกรอบพื้นสีเหลือง
6.5 กรณีที่มีเครื่องหมายแสดงสัญลักษณ์ของนิติบุคคลสำหรับหน่วยงานเอกชน ให้ติด
 เครื่องหมายดังกล่าวไว้ที่ประตูหน้าเท่านั้น
6.6 เฉพาะรถเอกชน นอกจากข้อความและสัญลักษณ์ดังกล่าวข้างต้นห้ามมิให้มีข้อความหรือ
 สัญลักษณ์อื่นใด
บันทึกการเข้า
rakmarnburapa
member..
Full Member
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 176


« ตอบ #4 เมื่อ: 04 ตุลาคม 2011, 19:35:50 »

 ข้อ 7 การใช้สัญญาณไฟวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น
7.1 การใช้ไฟสัญญาณและเสียงสัญญาณพร้อมกัน ให้ใช้ในกรณีจำเป็นต้องใช้รถเดินทางเพื่อ
 ปฏิบัติหน้าที่เมื่อมีเหตุฉุกเฉินโดยรีบด่วน หรือเพื่อนำหรือปิดท้ายขบวน ซึ่งจำเป็นต้องอารักขาให้ความ
 ปลอดภัยเป็นพิเศษ
7.2 การใช้ไฟสัญญาณโดยไม่ใช้เสียงสัญญาณ ให้ใช้ในกรณีจำเป็นต้องเดินทางเพื่อปฏิบัติหน้าที่
 โดยเร็ว การนำหรือปิดขบวนรถ ขบวนคนเดินเท้าซึ่งอาจกีดขวางการจราจร หรือในกรณีที่หยุดรถ
 ปฏิบัติหน้าที่เมื่อมีเหตุฉุกเฉิน หรือกรณีที่จำเป็นเพื่อให้ผู้ใช้ทางทราบและสังเกตเห็นได้ง่าย
7.3 รถอื่นนอกจากรถในราชการทหารหรือตำรวจ รถดับเพลิงรถพยาบาลให้ใช้ไฟสัญญาวับวาบ
 เพียงอย่างเดียว เว้นแต่อธิบดีกรมตำรวจจะเห็นสมควรเป็นอย่างอื่น
7.4 รถโรงเรียน ห้ามมิให้ใช้ไฟสัญญาวับวาบขณะขับรถในทางเว้นแต่ในขณะหยุดรถเพื่อรับส่ง
 นักเรียนขึ้นหรือลงรถหรือในขณะหยุดรถเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้ใช้ทางทราบและสังเกตเห็นได้ง่าย
 และไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 6
ข้อ 8 การเพิกถอนและการส่งคืนหนังสืออนุญาต
8.1 กรณีผู้รับหนังสืออนุญาต เจ้าของรถหรือผู้ขับขี่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
8.1.1 ใช้ไฟสัญญาหรือเสียงสัญญาณโดยไม่มีเหตุอันสมควร
8.1.2 กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43 (1) และ (2)
 8.1.3 กระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป คือ
8.1.3.1 ความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 ยกเว้นมาตรา 43 (1) และ (2)
 8.1.3.2 ความผิดตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับการจราจร
8.1.3.3 ใช้รถที่มีอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนตามที่กรมตำรวจได้ออกประกาศกำหนดไว้ หรืออยู่
 ในสภาพที่ไม่สามารถใช้การได้ดีหรืออาจเกิดอันตราย
6
 8.1.4 ใช้ไฟสัญญาณวับวาบหรือเสียงสัญญาณไม่ตรงตามที่ได้รับอนุญาต หรือไม่ปฏิบัติตาม
 เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดหรือประกาศกรมตำรวจ ให้เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงาน
 สอบสวนจัดทำรายงานแสดงเหตุแห่งพฤติการณ์ของความผิดและผลคดีถึงที่สุด พร้อมความเห็นเสนอ
 จนถึงอธิบดีกรมตำรวจเพื่อพิจารณาว่ากล่าวตักเตือนหรือเพิกถอนหนังสืออนุญาต
 ข้อ 9 เมื่อเปลี่ยนเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถ เปลี่ยนสภาพรถ เปลี่ยนวัตถุประสงค์ของการใช้รถ
 หรือถูกเพิกถอนหนังสืออนุญาต ให้ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถ ดำเนินการลบ
 ข้อความตามข้อ 6 และถอดไฟสัญญาณเสียงสัญญาณที่ได้รับอนุญาตให้ติดตั้งออกจากรถนั้นทันที แล้ว
 ให้นำหนังสืออนุญาตดังกล่าวส่งคืนต่อเจ้าพนักงานจราจรภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งการ
 เพิกถอน
 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
 กำหนด ณ วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2536
พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์
 อธิบดีกรมตำรวจ
 ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา
 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2272/2533
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยสารแล่นตามกันไปในขบวนซึ่งมีรถวิทยุตำรวจทางหลวงเปิดไฟ
 สัญญาวับวาบ แล่นนำหน้า เชื่อได้ว่ารถที่จำเลยที่ 1 ขับนั้นแล่นด้วยความเร็วตามอัตราที่กฎหมาย
 กำหนดและอยู่ในช่อง ทางเดินรถที่ถูกต้อง จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลแซงขบวนรถไปอยู่ที่
 ไหล่ถนนด้านซ้าย แล้วขับขึ้นจากไหล่ถนนโดย กระชั้นชิด และด้วยความเร็วสูง โดยไม่ระมัดระวัง
 เช่นนี้ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่อาจคาดหมายหรือให้สัญญาณเพื่อให้ใช้ความระมัดระวังอย่างใดได้ทัน เหตุชน
 กันจึงมิได้เกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 แต่ถือว่าเกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 2 แต่เพียง
 ฝ่ายเดียว
 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2510
จำเลยขับรถยนต์ในราชการตำรวจไปตามถนนโดยใช้สัญญาณไฟแดงกระพริบและแตรไซเรน
 เพื่อนำคนประสพอุบัติเหตุส่งโรงพยาบาล การขับรถโดยใช้สัญญาณดังกล่าวมิได้หมายความว่าขับได้
 เร็วเท่าใดก็ไม่เป็นการละเมิดหากเกิดการเสียหายขึ้น แต่จะต้องขับด้วยความเร็วไม่สูงเกินกว่าที่ควร
7
กระทำในพฤติการณ์เช่นนั้น และต้องใช้ความระมัดระวังในฐานะที่ต้องใช้ความเร็วสูงกว่าธรรมดาตาม
 สมควรแก่พฤติการณ์เช่นนั้นด้วย
 จำเลยขับรถใช้อาณัติสัญญาณไฟแดงกระพริบและเปิดแตรไซเรนมาด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตร
 ต่อชั่วโมง เมื่อจะขึ้นสะพานลดลงเหลือ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีรถบรรทุกแล่นสวนมาบนสะพานโดย
 ไในฐานะที่ประสบเหตุเช่นนั้นแล้ว เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยไม่ต้อง
 รับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437

ม่หยุด และมีเด็กวิ่งข้ามถนนตัดท้ายรถบรรทุกมาในระยะกระชั้นชิดซึ่งจำเลยไม่สามารถหยุดรถได้ทัน
 จึงต้องหักหลบแล้วไปชนผู้ตาย ถือได้ว่าความเร็วที่จำเลยใช้ในขณะข้ามสะพานไม่เป็นความเร็วที่เกิน
 สมควรตามเวลา สถานที่ และพฤติการณ์อื่น ๆ ในขณะนั้น จึงไม่เป็นการประมาทเลินเล่อ การที่มีเด็กวิ่ง
 ตัดหลัง รถบรรทุกข้ามถนนผ่านหน้ารถจำเลยในระยะใกล้เป็นเหตุบังเอิญ มิอาจคาดหมายได้ และ
 เกิดขึ้นโดยฉับพลันเป็นเหตุที่ไม่มีใครป้องกันได้เมื่อจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรอันพึง
 คาดหมายได้จาก บุคคล ข้อ 4 รถที่จะใช้ไฟสัญญาณวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นจะต้องได้รับ
 อนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมตำรวจเสียก่อน จึงจะติดตั้งใช้ได้
 หนังสืออนุญาตตามความในวรรคก่อนให้เป็นไปตามแบบท้ายข้อกำหนดนี้ และให้มีอายุไม่เกินกว่า
2 ปี นับแต่วันอนุญาต หนังสืออนุญาตดังกล่าวให้เก็บไว้ที่รถเพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงานได้ทันที
 ข้อ 5 ลักษณะของไฟสัญญาณวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น
5.1 ไฟสัญญาณจะต้องติดตั้งบนหลังคาให้เห็นได้ชัดเจน แสงของไฟสัญญาณจะต้องส่องออก
 ทางด้านหน้ารถกระพริบวับวาบหรือหมุนให้แสงส่องวับวาบโดยรอบรถก็ได้ สีของแสงไฟสัญญาณให้
 ใช้ดังนี้
5.1.1 แสงแดง สำหรับรถในราชการทหารหรือตำรวจ และรถดับเพลิง
5.1.2 แสงน้ำเงิน สำหรับรถพยาบาล
5.1.3 แสงเหลือง สำหรับรถอื่น
5.2 เสียงสัญญาณ ให้ใช้ดังนี้
5.2.1 เสียงสัญญาณไซเรน สำหรับรถในราชการทหารหรือตำรวจ รถดับเพลิง และรถอื่น
 ตามที่อธิบดีกรมตำรวจเห็นสมควร
บันทึกการเข้า
YA HARD CORE
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 983


« ตอบ #5 เมื่อ: 04 ตุลาคม 2011, 19:39:42 »

ต้องดูเป็นกรณีๆไปครับ  เหตุการณ์แต่ละเหตุปัจจัยต่างกัน
บันทึกการเข้า

บ/ช กรุงเทพ 7410066406

LINE:   yahardcore
0812859898
E27BOI
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 893



« ตอบ #6 เมื่อ: 04 ตุลาคม 2011, 23:34:36 »

ผมว่ามันต้องช่วยกันระวังทั้งสองฝ่าย เพราะแต่ละกรณีอาจจะต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัวของผู้ขับขี่รถฉุกเฉินด้วย ผู้ร่วมถนนเองก็ต้องคอยสังเกตุด้วยเช่นกัน การที่เราขับเร็วไม่ได้หมายความว่าต้องวิ่งขวาตลอด อาจจะซ้ายบ้างขวาบ้างในบางครังเพื่อไปให็ถึงเป้าหมายได้เร็วที่สุด อย่างผมเองบางทีเห็นรถฉุกเฉินมาเร็วแต่ผมวิ่งอยู่แลนขวา ด้านซ้ายมันว่าง ถ้าผมกับรถฉุกเฉินใจตรงกันว่าจะแซงซ้าย ผมก็จะหลบไปทางซ้ายเหมือนกัน โครม ตูมตาม ใครผิดละทีนี้ ในบางครั้งเราก็ต้องคาดเดาเอาว่าจะไปทางไหนดีทั้งคันหน้า และคันหลัง (ในกรณีนี้รถหลังมาเร็ว รถเราอาจวิ่งความเร็วตามกฎหมาย 80 กม/ชม เอาเป็นว่าระวังด้วยกันทั้งคู่ เบรคบ้าง ชลอความเร็วบ้าง เพื่อความปลอดภัยของเราเอง และผู้ใช้ถนนร่วมกัน
บันทึกการเข้า

กิตติพงศ์  โสภา 15/5 หมู่ 3 ตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 6161012113 ธนาคารกสิกรไทย 5262235906 โทร.080-0893303/062-9962242
somphot
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1697


« ตอบ #7 เมื่อ: 04 ตุลาคม 2011, 23:53:39 »

เท่าที่ทราบรถพยาบาลกู้ชีพเ่ท่านั้นที่ได้รับการอนุญาติอย่างเป็นทางการสามารถกระทำผิดสัญญาณไฟจราจรและสามารถวิ่งย้อนศรได้โดยไม่มีความผิดใดๆส่วนรถอปพร.หรือมูลนิธิที่ไม่ใช่ของทางโรงพยาบาลโดยตรงกฏหมายจะไม่คุ้มครองรถเหล่านี้ถ้าเกิดอุบัตเหตุขึ้นก็เหมือนกับรถประชาชนธรรมดาทั่วๆไปผิดก็ว่าไปตามผิดถูกก็ว่าไปตามถูกถ้ามีการฟ้องร้องศาลๆก็จะพิเคราะห์ตามเหตุและผลและที่สำคัญรถที่ใช้รับผู้บาดเจ็บหรือรถฉุกเฉินจะต้องได้รับอนุญาติจากกระทรวงสาธารณะสุขถึงจะทำผิดกฏจราจรได้โดยไม่มีความผิดแต่จะต้องมีเหตุฉุกเฉินจริงๆไม่ใช่ไม่มีเหตุแล้วผ่าไฟแดงหรือย้อนศรถ้าเกิดอุบัติเหตุกรณีนี้รถโรงพยาบาลที่ได้รับอนุญาติก็ต้องรับผิดชอบข้อหาขับรถโดยประมาท
บันทึกการเข้า
ksurachet
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4909


อาชีพ: เรือจ้าง


เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 04 ตุลาคม 2011, 23:54:11 »

เข้ามาเก็บความรู้ครับ ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า

ยิ้มกว้างๆ สุพรรณฯ - อ่างทอง - กรุงเทพ ยิงฟันยิ้ม
บัญชีออมทรัพย์ ธ.กรุงไทย สาขาโพธาราม เลขที่ 708-0-27990-9 ชื่อบัญชี นายสุรเชษฐ์  แก้วปาน
Inbox : www.facebook.com/messages/518135484985673
Line id : ksurachet
my : 089-915-5556
AIS : 081-763-4547
แฮมโคราชา
แฮมรุ่นเก๋าแต่ไม่เก่า
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 12476


HS3BXY ณ โคราชา


เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2011, 08:03:35 »

อย่าคิดมากนะครับ ที่ยกตัวอย่างให้ดูนี้คือ คดีทางปกครองที่อยู่ในอำนาจพิพากษาของศาลปกครอง ไม่ใช่คดีแพ่งหรืออาญา

การชดใช้ความเสียหายทั่วๆไปนั้น เป็นเรื่องที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่ง แต่จะให้ผู้ขับขี่รถพยาบาลฉุกเฉิน หรือหน่วยงานต้นสังกัดเป็นผู้ชดใช้ความเสียหายนั้น เป็นเรื่องระหว่างผู้ขับขี่รถพยาบาลฉุกเฉิน(อาจจะเป็นข้าราชการ, ลูกจ้าง หรือพนักงานของรัฐ)ซึ่งกระทำตามหน้าที่ราชการ กับหน่วยงานต้นสังกัด เมื่อเป็นคดีเกิดขึ้น ศาลปกครองจึงมีขอบเขตอำนาจศาลในคดีดังกล่าว

ตัวอย่างอุบัติเหตุของรถ อปพร.(อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน) จึงไม่ใช่คดีทางปกครอง เป็นคดีที่ฟ้องเรียกค่าเสียหายทั่วๆไป ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลแพ่ง

ที่สำคัญ ต้องเป็นเจ้าหน้าที่ ที่ได้รับเงินเดือนจากหน่วยงานต้นสังกัดเป็นประจำทุกเดือน ทั้งนี้ต้องกระทำตามหน้าที่ราชการเท่านั้น และก็จะต้องไม่กระทำด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 ตุลาคม 2011, 08:08:31 โดย แฮมโคราชา » บันทึกการเข้า
HAMSIAM.COM # NO.1 HAM COMMUNITY OF THAILAND
   

พื้นที่โฆษณา ไฟฉายแรงๆ /วิทยุสื่อสาร /กล้องแอบถ่าย /เครื่องดักฟัง /GPS ติดตามรถหาย ระบุตำแหน่ง ผ่านดาวเทียม
คลิ้กไปดูที่ลิ้งค์ข้างล่างเลยครับ
http://www.spy-thai.com/


GPS ติดตามรถหาย ดักฟังเสียงสนทนาในรถ หรือระบุตำแหน่งรถ สั่งดับเครื่อง
ติดตามรถได้ทั่วไทยโดยไม่มีค่าบริการรายเดือน / Tel. 086-9455977
 บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  


 
กระโดดไป:  

ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ�
ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ� ŧ��ɳ�


Webmaster Earn Money! By Affiliate Program 100% Pay
www.samuismile.com

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF | SMF © 2006-2009, Simple Machines
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!